วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2552

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (ขุนบางกลางหาว)

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เดิมคือ ขุนบางกลางหาว (ชื่อ “ร่อง” ในสิหิงคนิทานว่า รณรงโค แปลว่า พระร่วง
นักรบ) เจ้าเมืองบางยาง (เมืองนครไทย) ได้ร่วมกับขุนผาเมอง (เจ้าเมืองราด) ทำการยึดอำนาจขอม และครองราชย์
ในปี พงศ.1762
เรื่องศักราชการยึดอำนาจจากขอมและการขึ้นครองราชย์นั้น สรุปไม่ได้ มีบางแห่ง (ศจ.ดร.ประเสริฐ
ณ นคร) สรุปว่า ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.1762-1781 (19 ปี) บางแห่งว่าครองราชย์ราว พงศ.1792 บางแห่งว่า
พระองค์ทรงตั้งอาณาจักรสยามที่เมืองสุโขทัย ทำการขับไล่ขอมเมื่อ พ.ศ.1762 บางแห่งระบุว่า ปีครองราชย์ประมาณ 1800 ทำให้เกิดปัญหาเวลาการครองราชย์ของขุนบานเมืองต่อไป

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ มีมเหสีพระนามว่า “นางเสือง” เป็นพระธิดาของพ่อขุนศรีนาวนำถม) ทรงมีพระโอรสธิดารวม 5 องค์ เป็นโอรส 3 องค์ ธิดา 2 องค์ โอรสองค์ใหญ่ ไม่ปรากฏพระนามด้วยสิ้นพระชนม์เสียตั้งแต่ยังเยาว์วัย องค์ที่สองคือ บานเมือง หรือ ปาลราช องค์ทีสาม เดิมไม่มีพระนาม แต่พอไปชนช้างชนะขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด (เมืองตาก) มีความชอบจึงประทานชื่อ (หรือชื่อตามยศศักดิ์) ว่า พระรามคำแหง ในหนังสืออื่น เรียก รามราช ส่วนธิดาอีก 2 คน ไม่ปรากฏนาม
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์

การขึ้นครองเมืองสุโขทัย ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (ขุนบางกลางหาว) นั้น แม้สามารถขับไล่ขอมสบาดโจลญลำพงออกไปจากเขตเมืองใต้ ก็ยังทำให้พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ รู้สึกกังวลต่อฐานอำนาจเดิมที่พ่อขุนศรีนำถุมมี อยู่แต่เดิม (ไม่ค่อยจะมั่นคง) แม้ขุนผาเมืองจะไม่ครองเมืองสุโขทัยแทนพระบิดา หรือเห็นว่านางเสือง เป็นมเหสี

ของขุนบางกลางหาวอยู่แล้วก็ตาม พ่อขุนผาเมืองก็ยังระแวงว่ากำลังจากอาณาจักรขอมนั้น จะยกเข้ามาทำสงครามชิงเมืองคืน ขุนผาเมืองจึงกลับไปครองเมืองราด เพื่อให้มเหสีคือ นางสิขรมหาเทวี ซึ่งเป็นพระธิดากษัตริย์ขอมนั้น เป็นผู้เชื่อมไมตรีกับพระบิดา คือ พระเจ้าเจ้าสุริยวรมันที่ 7 ดังนั้นขุนผาเมืองจึงให้ขุนบางกลางหาวนั้นรับเอาพระนาม

“ศรีบดินทรอินทราทิตย์” (กมรเตงอัญศรีอินทราบดินทราทิตย์) และพระขรรค์ชัยศรีจากขุนผาเมืองมาใช้เป็นการป้องกันเมือง และสร้างความเป็นไมตรีต่ออาณาจักรขอมไว้ก่อน

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ขั้นครองราชย์ที่เมืองสุโขทัยได้ไม่นาน ประมาณ พ.ศ.1800-1802 ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด ก็แสดงท่าทีจะชิงเมืองโดยยกทัพเข้าจะตีเมืองตาก กำลังของขุนสามชน เมืองฉอด ที่ยกทัพมาครั้งนี้ เข้าใจว่าน่าจะมีกำลังของขอมสบาดโขลญลำพงที่พ่ายหนีไปส่วนหนึ่งนั้นสมทบเข้ามาด้วย

ครั้งนั้นพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เห็นว่าหากปล่อยให้ขุนสามชนตีได้เมืองตากแล้ว ก็จะเป็นอันตรายกับเมืองสุโขทัย ดังนั้นพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จึงยกทัพออกจาเมืองสุโขทัยพร้อมกับโอรสคนเล็ก (นามว่า พระรามราช) ซึ่งมีอายุ 19 พรรษา และได้ติดตามบิดาออกสงครามด้วย

การสู้รบนั้น ได้มีการทำยุทธหัตถีกัน ระหว่างขุนศรีอินทราทิตย์กับขุนสามชน และ (พระรามราช) โอรสองค์นี้ได้เข้าชนช้าง ช่วยพระบิดาจนมีชัยชนะขุนสามชน ด้วย ความกล้าหาญของโอรสองค์นี้ จึงได้รับการเฉลิมพระนามว่า รามกำแหง หรือรามคำแหง
ระยะแรกนั้น เมืองสุโขทัยได้ทำการขยายอาณาเขตด้วยการทำสงครามกับเมืองต่าง ๆ ที่ไม่ยอมเป็นไมตรี

เนื่องจากเมืองสุโขทัยนั้นเปลี่ยนราชวงศ์ใหม่ไม่ใช่เชื้อสายราชวงศ์ของขุนศรีนาวนำถุม ผู้ครองเมืองเดิม ขณะนั้นบรรดาเมืองต่าง ๆ ส่วนใหญ่นิยมที่จะนับถือราชวงศ์ศรีนามนำถุมอยู่ จึงทำให้เมืองนั้นไม่ยอมอ่อนน้อมยอมขึ้นด้วย จนพ่อขุนต้องออกทำการปราบปรามเมืองต่าง ๆ ในที่สุด เมืองเหล่านั้นก็ยอมอ่อนน้อม

ในที่สุดเมืองสุโขทัยก็สามารถขยายเขตของอาณาจักรได้กว้างขวาง ทำให้เมืองสุโขทัยสามารถวางรากบานอาณาจักรมั่นคงและสามารถรวบรวมชนชาติไทยเป็นหนึ่งเดียวกันได้ โดยเฉพาะเชื้อพระวงศ์ของขุนศรีนาวนำถุมนั้นได้อยู่รับราชการกับพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ด้วยคือ พระยาคำแหง พระราม เป็นพระอนุชาและขุนผาเมือง ซึ่งมีพระโอรสคือ ขุนศรีสัทธาภายหลังได้ออกบวชในพุทธศาสนาลังกาวงศ์ และได้เป็นสังฆราชเมืองสุโขทัย

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ สวรรคตปีใดนั้นไม่มีหลักฐาน บางแห่งว่าพ่อขุนศรีอินทราทิตย์สวรรค ราว
พ.ศ.1822 ขุนบานเมือง หรือพญาปาลราช โอรสองค์ที่สองได้ครองเมืองสุโขทัยต่อมา

พ่อขุนบานเมือง (ขุนปาลราช)ล

พ่อขุนบานเมือง หรือขุนปาลราช โอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (ขุนบางกลางหาว) บางแห่งระบุชื่อว่า ขุนบางกลางเมือง ขึ้นครองราชย์ปีใดไม่ปรากฏ สันนิษฐานว่า ขุนบานเมือง ครองเมืองสุโขทัยสืบต่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ที่สวรรคประมาณ พงศ.1822 แล้วครองเพียง 1 ปี จึงสวรรคต หากสันนาฐานว่า ขุนบานเมืองครองราชญ์ประมาณ พ.ศ.1781 ต่อจาก พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ครองราชย์ คือ พงศ.1762 – 1781 (19 ปี) ก็หมายว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์นั้น สวรรคตประมาณ พงศ.1781 ด้วย และทำให้ช่วงเวลาของรัชกาลนี้ มีระยะเวลานานถึง 41 ปี เป็นเวลานานพอที่จะทำการสร้างวัดหรือโบราณสถาน หรือมีเหตุการณ์สำคัญบ้างแต่รัชกาลนี้ไม่มีเหตุการณ์อะไรมากนั้น จึงเชื่อว่าขุนผู้นี้น่าจะครองเมืองสุโขทัยในระยะเวลาสั้น

ด้วยเหตุนี้ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จึงน่าจะครองเมืองสุโขทัยเป็นเวลานานประมาณ 19 – 22 ปี คือ
พ.ศ.1762 – 1781 ซึ่งน่าจะครองเมืองสุโขทัยวางรากฐานอาณาจักรและขยายอาณาเขตให้กว้างไกล เป็นระยะเวลาที่ยังมีการปราบปรามหัวเมืองต่าง ๆ บางแห่งอยู่บ้าง ดังนั้น หลังจาก พ.ศ. 1781 จนถึงปี ครองราชย์ของพ่อขุนบานเมือง คือ พ.ศ.1822 เป็นรวม 41 ปีนั้น อาณาจักรของเมืองสุโขทัยไม่ปรากฏว่า เป็นช่วงเวลาว่างกษัตริย์ หรือเป็นช่วงเวลาที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ครองราชย์ ตั้งแต่ พ.ศ.1800 – 1822 (22 ปี) มากกว่า เพราะดูจะสมกับระยะเวลาครองราชย์ และขุนบานเมืองนั้นครองราชย์ได้ 1 ปี ใน พงศ.1822

พ่อขุนรามคำแหง
พ่อขุนรามคำแหง โอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นพระอนุชาของขุนบานเมือง ได้ครองเมืองสุโขทัยสืบต่อจากพ่อขุนบานเมือง ขณะที่มีชนมายุได้ 38 พรรษา ประมาณก่อน พ.ศ.1820 บางแห่งว่าครองราชย์ พ.ศ.1822 – 1842

พ่อขุนผู้นี้ทรงนำบุบำรุงอาณาประชาราษฎร และปกครองไพร่ฟ้าประชาชนแบบ่พอปกครองลูก และโปรดให้แขวนกระดิ่งอันหนึ่งไว้ที่ประตูพระราชวัง เมื่อประชาชนเดือนร้อนก็สามารถมาสั่นกระดิ่งร้องทุกข์ต่อพ่อขุนรามคำแหงให้ออกมาตัดสินปัญหาได้

ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงทรงให้สร้าง พระแท่นมนังคศิลาบาตรด้วยขดารหินชนวนที่นำมาจากภูเขา ใกล้เมืองสุโขทัย โดยตั้งไว้กลางดงตาล เพื่อให้พระสงฆ์ นั่งเทศนาสั่งสอนธรรมแก่ไพร่ฟ้าประชาชนในวันพระ ปัจจุบันพระแท่นมนังคศิลาบาตรนี้ อยู่ในพิพิธภัณฑ์วัดพระสรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) กรุงเทพฯ
พงศ.1825 พ่อขุนรามคำแหงนั้น ได้ขยายอาณาเขตของอาณาจักรไปยังดินแดนใกล้เคียง โดยมีความสัมพันธ์กับเมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองกาว เมืองลาว ชุมชนคนไทยบริเวณแม่น้ำอูและแม่น้ำโขง

ในประวัติศาสตร์ กัมพูชาบันทึกว่า กองทัพสยามนั้นเข้ารุกรานกัมพูชา และจดหมายเหตุญวนก็บันทึกว่า
กองทัพสยามไปรุกรานจามปา สรุปแล้ว ในรัชกาลนี้อาณาจักรของชาวสยาม มีอาณาเขตกว้างขวางไปยังดินแดนกัมพูชาและอาณาจักรจามปา ด้วย

แต่พ่อขุนรามคำแหงนั้น จะไม่ขยายอาณาเขตไปทางดินแดนเหนือ เนื่องจากขุนผู้นี้ทรงมีพระสหายสนิทซึ่งเป็นผู้นำของชาวสยามเช่นกัน กล่าวคือ พ่อขุนเม็งราย (พระยายาเม็งราย) ผู้ครองเมืองเชียงราย และพ่อขุนงำเมือง

(พระยางำเมือง) ผู้ครองเมืองพะเยา (เมืองภูกามยาว) ขุนผู้นี้เป็นโอรสของขุนมิ่งเมือง เมืองประสูติ พ.ศ.1781 สืบเชื้อสายจากเจ้าขอมผาเรือง เมื่ออายุได้ 14 พรรษา ได้ศึกษาอยู่กับสำนักสุกทันตฤษีที่เมืองละโว้ ร่วมอาจารย์กับพ่อขุนรามคำแหง กลับครองเมืองจนถึง พ.ศ.1801 ซึ่งทั้งสามพ่อขุนนี้ได้มีสัมพันธ์ไมตรีต่อกันเป็นอย่างดี

อาณาจักรของเมืองสุโขทัยนั้น ยังมีความสัมพันธ์กับเมืองต่าง ๆ ทางตอนใต้ด้วยคือ อาณาจักรสุวรรณภูมิ(เมืองสุพรรณบุรี) อาณาจักรตามพรลิงค์ (เมืองนครศรีธรรมราช) ส่วนด้านตะวันตกนั้นมีความสัมพันธ์กับเมืองฉอดและเมืองหงสาวดี

พ.ศ.1825 พ่อขุนรามคำแหงได้มีสัมพันธ์ไมตรีกับชาติจีน ในจดหมายเหตุจีนบันทึกไว้ว่า กุบไลข่าน หรือพระเจ้าหงวนสีโจ๊วฮ่องเต้ ได้ส่งคณะทูตเดินทางมาแคว้นสุโขทัย แต่คณะทูตจีนเดินทางมาไม่ถึง เพราะในระหว่างการเดินทางนั้นคณะทูตจีนได้ถูกพวกจามจับกุมประหารชีวิตเสียก่อน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น