วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2552

ทำไมเลืดเป็นสีแดง



ทำไมเลือดเป็นสีแดง

คำตอบคือ

• เซลล์เม็ดเลือดแดง(Erythrocytes) เป็น เซลล์ที่ไม่มีนิวเคลียสมีลักษณะกลมแบนตรงกลางเ้ว้าเข้าหากันมีอัตราส่วนต่อ พื้นที่ผิวต่อปริมาตรสูงช่วยให้ดูดซึมก๊าซออกซิเจนได้มากเม็ดเลือดแดงประกอบด้วยสารเคมีชนิดหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการหายใจเีรียกว่า ฮีโมโกลบิน(Haemoglobin)

• ฮีโมโกลบิน(Haemoglobin) เป็น สารสีแดงที่มีส่วนประกอบของธาตุเหล็ก พบอยู่ในเซลล์เม็ดเลือด มีสมบัติพิเศษคือสามารถรวมตัวกับออกซิเจนได้ง่าย ดังนั้นเมื่อรวมตัวกับออกซิเจนที่ปอดแล้วจะเิกิดเป็นสารใหม่ที่เรียกว่า ออกซีฮีโมโกลบิน (มีสีแดงสด )ส่งไปเลี้ยงเซลล์ส่วนต่างๆของร่างกาย

ฮีโมโกลบิน + ออกซิเจน เกิดสารใหม่คือ ออกซีฮีโมโกลบิน เมื่อไปถึงเซลล์สารประกอบออกซีฮีโมโกลบินจะแตกตัวออกเป็นฮีโมโกลบินและก๊าซ ออกซิเจนเซลล์จะนำก๊าซออกซิเจนไปใช้ในการสลายสารอาหาร ส่วนฮีโมโกลบินจะกลับไปรับออกซิเจนที่ปอดออกซีฮีโมโกลบิน แตกตัวออกเป็น ฮีโมโกลบิน + ออกซิเจน

• เซลล์เม็ดเลือดแดงของทารกที่อยู่ในครรภ์มารดาจะผลิตที่ตับ ม้าม และต่อมน้ำเหลืองแต่เมื่อคลอดแล้วจะผลิตที่ไขกระดูก( bone marrow ) เพียงอย่างเดียว

• สารที่จำเป็นต่อการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงคือไขมันโปรตีนและธาตุเหล็ก

• ในร่างกายเรามีเซลล์เม็ดเลือดแดงจำนวนมาก ในผู้ชายปกติมี 5 ล้านเซลล์ต่อเลือด 1 ลูกบาศก์มิลลิลิตร ในผู้หญิงจะมี 4.5-5 ล้าเซลล์ต่อเลือด 1 ลูกบาศก์มิลลิลิตรคนที่มีเม็ดเลือดแดงน้อยกว่า 3 ล้าน 5 แสนเซลล์ต่อเลือด 1 ลูกบาศก์มิลลิลิตร เรียกว่า เป็นเลือดโลหิตจาง ( Anemia)โดยปกติเม็ดเลือดแดงมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 7-8 ไมครอน เซลล์เม็ดเลือดแดงจะไหลเวียนอยู่ในกระแสเลือดนานประมาณ 90-120 วัน จึงหมดอายุแล้วถูกทำลายโดย ตับ ม้าม และไขกระดูก

ทำไมตะบองเพชรจึงไม่มีใบ


ตะบองเพชรเป็นพืชท้องถิ่นทะเลทราย ที่มีปริมาณน้ำฝนต่อปีน้อยมาก ดังนั้น ถ้ามีใบ ตามโครงสร้างของใบจะมีปากใบทำหน้าที่คายน้ำเพื่อลดอุณหภูมิแต่ตะบองเพชรไม่สามารถหาน้ำปริมาณมากเช่นนั้นได้จึงต้องมีการลดการคายน้ำ โดยการเปลี่ยนใบให้กลายเป็นหนามแทนและใช้วิธีการลดอุณหภูมิด้วยวิธีอื่นๆ แทนการคายน้ำ

รูปหายาก 2

รูปหายาก

วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2552

อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย

อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย – ท่องเที่ยวไทย - 7 สิ่งมหัศจรรย์


อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย เป็นอีก สถานที่ท่องเที่ยวหนึ่ง ของจังหวัดสุโขทัย โดยอุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย มีพื้นที่มากกว่า 133,250 ไร่ หรือประมาณ 213.20 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ของ อำเภอศรีสัชนาลัย อำเภอทุ่งเสลียง จังหวัดสุโขทัย และได้รับการประกาศให้เป็น อุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 8 เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช 2524
ในอดีตนั้น อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย มีชื่อเรียกว่า ป่าคา เนื่องจากเป็น ทุ่งหญ้าคา ขนาดใหญ่ ที่เป็นแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำท่าแพ สภาพโดยทั่วไปของ อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย จะมีลักษณะเป็นภูเขาสลับซับซ้อน มีภูเขาหิน บางที่มีหินหน้าผาสูง เฉลี่ยความสูงของพื้นที่ วัดจากระดับน้ำทะเล อยู่ใน ระดับปานกลาง คือมีความสูงประมาณ 300 – 1,200 เมตร เนื่องอุทยานแห่งชาติ ศรีสัชนาลัย มีพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ จึงเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร
นักท่องเที่ยว ที่มีความชื่อชอบ การพจญภัย รักการเดินป่า ชอบการท่องเที่ยว ในเชิงอนุรักษ์ ชอบการเที่ยวชมโบราณสถาน อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย น่าจะเป็นทางเลือกที่ลงตัวที่สุด สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ของ อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย
น้ำตกตาดเดือน
น้ำตกตาดดาว
ถ้ำธาราวสันต์
น้ำตกปากะญอ
น้ำตกแม่สาน
น้ำตกห้วยทรายขาว
โป่งน้ำเดือด
นักท่องเที่ยว สามารถสอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย ตู้ ปณ. 10 ตำบลบ้านแก่ง อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย 64130 หมายเลขโทรศัพท์ 055-611179

อุทยานแห่งชาติรามคำแหง

อุทยานแห่งชาติรามคำแหง (เขาหลวง จังหวัดสุโขทัย) ครอบคลุมพื้นที่ของอำเภอเมืองสุโขทัย อำเภอบ้านด่าน ลานหอย และอำเภอคีรีมาศ มีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ 213,215 ไร่ เป็นอุทยานแห่งชาติทางประวัติศาสตร์แห่งแรกของเมืองไทยที่น่าสนใจ และน่าศึกษา เพราะเป็นการอนุรักษ์ป่าที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยกรุงสุโขทัยไว้พร้อมกับธรรมชาติ ในสมัยก่อนเรียกป่านี้ว่า ป่าเขาหลวง แต่เมื่อทางการเข้ามาดำเนินการสงวนพื้นที่แห่งนี้ไว้เพื่อประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาตินั้นได้ตั้งชื่อเสียใหม่ว่า รามคำแหง ซึ่งเป็นมงคลนาม เพราะมาจากพระนามของกษัตริย์อัจฉริยะของชาติไทย คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ผู้ครองกรุงสุโขทัย เพราะชื่อเดิมนั้น (เขาหลวง) ซ้ำกับ ป่าเขาหลวง ซึ่งเป็นชื่ออุทยานแห่งชาติเขาหลวงที่จังหวัดนครศรีธรรมราช อุทยานแห่งชาติรามคำแหงมีขุนเขาที่สูงเด่นเป็นสง่า คือ ยอดเขาหลวง ภายในอุทยานฯ สามารถที่จะเห็นสัตว์ป่าได้ เช่น วัวแดง เก้ง หมี หมู่ป่า นกกระเต็น นกนางแอ่ง พรรณไม้ที่สำคัญได้แก่ สัก ตะเคียน เต็ง รัง พืชสมุนไพร ว่าน น้ำตกที่สวยงาม และถ้ำต่างๆ ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ เหมาะสำหรับการไปพักผ่อน และได้รับการประกาศแต่ตั้งให้เป็นอุทยานแห่งชาติรามคำแหง เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2523
ลักษณะภูมิประเทศ และภูมิอากาศ เป็นภูเขาที่สลับซับซ้อน ทอดตัวอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ ตั้งตระหง่านอยู่บนพื้นราบคล้ายจอมปลวกขนาดใหญ่โดดเด่นเป็นสง่าอยู่กลางทุ่งนา สภาพอากาศบนยอดเขาจะหนาวเย็นตลอดปี มีเมฆหมอกปกคลุมมากในช่วงฤดูหนาว และฤดูฝน อุณหภูมิเฉลี่ยโดยประมาณ 12-14 องศาเซลเซียส ช่วงที่อากาศเย็นสบายอยู่ระหว่างเดือนธันวาคม-มกราคม ช่วงที่เหมาะสมสำหรับการเดินทางไปอุทยานฯ เริ่มตั้งแต่ประมาณเดือนกันยายน-กุมภาพันธ์ สถานที่น่าสนใจในเขตอุทยานแห่งชาติรามคำแหง ได้แก่เขาหลวง อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลถึง 1,200 เมตร เป็นภูเขาที่มีหน้าผาสูงชัน และมียอดเขาสูงที่สุดอยู่ทางด้าน ทิศใต้ของเมืองสุโขทัย บนยอดเขามีทิวทัศน์ที่สวยงาม ปกคลุมด้วยทุ่งหญ้าธรรมชาติ ประกอบด้วยยอดเขา 4 ยอดด้วยกัน คือ ยอดเขานารายณ์ สูงจากระดับน้ำทะเล 1,160 เมตร เป็นที่ตั้งของสถานีโทรคมนาคมเขานารายณ์ ของกองทัพอากาศมีเนื้อที่ 25 ไร่ บริเวณเขานารายณ์มีหน้าผาที่สวยงาม และสูงชันเหมาะสำหรับเป็นสถานที่พักผ่อน สามารถมองเห็นทิวทัศน์รอบเขา ในเวลากลางคืนจะเห็นแสงไฟจากจังหวัดสุโขทัย และจังหวัดพิษณุโลก ยอดเขาพระแม่ย่า สูงจากระดับน้ำทะเล 1,200 เมตร เดิมเคยเป็นที่ประทับ จำศีลภาวนาของพระแม่ย่า ยอดเขาภูกา สูงจากระดับน้ำทะเล 1,200 เมตร และ ยอดเขาพระเจดีย์ สูงจากระดับน้ำทะเล 1,185 เมตร เมื่อมองจากยอดเขาเหล่านี้ลงไปสามารถมองเห็นทิวทัศน์ที่สวยงาม และจะเห็นทำนบกั้นน้ำที่สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยที่เรียกว่า สรีดภงค์ และตัวจังหวัดสุโขทัยได้อย่างชัดเจน
ทุ่งหญ้าธรรมชาติ บนยอดเขาจะเป็นทุ่งหญ้าที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติมีเนื้อที่ประมาณ 3,000 ไร่ มีหญ้าหลายชนิดขึ้นอยู่รวมกัน และบางชนิดเป็นพืชสมุนไพรไทรงาม เป็นต้นไทรขนาดใหญ่แผ่กิ่งก้านสาขาได้ลักษณะสวยงาม เหมาะที่จะไปนั่งพักผ่อน อยู่ระหว่างทางขึ้นยอดเขาหลวงปล่องนางนาค อยู่ห่างจากไทรงาม 320 เมตร เป็นปล่องธรรมชาติอยู่บริเวณยอดเขามีความกว้างประมาณ 0.5 เมตร ยาวประมาณ 1.5 เมตร ความลึกไม่สามารถวัดได้ ตามตำนานพระร่วงในพงศาวดารเหนือเจ้าเมืองออกมาจำศีลที่เขาหลวงจึงเกิดตำนานเรื่องพระร่วงซึ่งเกี่ยวข้องกับปล่องนางนาคนี้สมุนไพร และว่าน ในพื้นที่อุทยานฯ มีว่าน และสมุนไพรอยู่หลายชนิด เช่น โด่ไม่รู้ล้ม หอมไกลดง นางคุ้ม หนุมานประสานกาย กำลังเสือโคร่ง เป็นต้นประตูประวัติศาสตร์ มีประตูทางประวัติศาสตร์ที่ปรากฏอยู่ คือ ประตูป่า อยู่ทางทิศเหนือของสวนลุ่ม หรือบริเวณที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ ประตูมะค่า อยู่ทางทิศตะวันตก เป็นประตูที่ตั้งอยู่ที่บริเวณเมืองหน้าด่าน ประตูเปลือย อยู่ทางทิศตะวันออกของสวนลุ่ม ตั้งอยู่บริเวณด่านตรวจของอุทยานฯ ประตูพระร่วง อยู่ทางทิศใต้ของสวนลุ่ม และมีเรื่องเล่ามาว่าเป็นประตูที่พระร่วงเข้ามาเล่นว่าว ณ ที่แห่งนี้สวนลุ่ม หรือสวนลุมพินีวัน เป็นสวนว่านยาสมุนไพรอีกแห่งหนึ่งอยู่ที่เชิงเขาหลวง ปัจจุบันคือ ที่ตั้งของสำนักงานอุทยานแห่งชาติรามคำแหง ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเขาหลวงน้ำตกสายรุ้ง อยู่ทางทิศตะวันตกของเขาหลวง เป็นน้ำตกที่มีชื่อเสียง และสวยงาม เกิดจากต้นน้ำบริเวณเขาเจดีย์ มาเป็นลำธารคลองไผ่นาไหลลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ทิ้งตัวลงมาจากผาหินที่สูง เมื่อถูกแสงแดดส่องลงมากระทบเข้ากับน้ำเป็นสายทำให้เกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเป็นสายรุ้งที่มีสีสันสวยงาม มีน้ำตกเฉพาะในช่วงฤดูฝนเท่านั้น ภายในบริเวณน้ำตกมีหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ อยู่ห่างจากอุทยานฯ 50 เมตร ตัวน้ำตกมีทั้งหมด 4 ชั้น แต่ละชั้นสามารถลงเล่นน้ำได้ โดยต้องเดินเท้าจากหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ ขึ้นไปตามธารน้ำไหล มีระยะทาง 800 เมตร 900 เมตร 1,160 เมตร และ 1,200 เมตร ตามลำดับ การเดินทาง จากตัวจังหวัดสุโขทัยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 101 เส้นสุโขทัย-คีรีมาศ พอถึงอำเภอคีรีมาศให้ตรงไปอีกประมาณ 18 กิโลเมตร จะมีทางแยกขวามือโดยผ่านอำเภอบ้านด่านลานหอยเข้าไป 13 กิโลเมตร แล้วมีทางแยกขวาอีกครั้งให้ตรงเข้าไปประมาณ 4 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานฯ ช่วงระยะเวลาที่สามารถมองเห็นสายรุ้งตั้งแต่เวลา11.00-16.00 น.รอยพระพุทธบาท ตั้งอยู่เชิงเขาถ้ำพระบาททำด้วยหินชนวนแกะสลักรอยมงคล 108 สร้างในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท อายุประมาณ 600 ปีเศษปรางค์เขาปู่จา เป็นปรางค์ที่ก่อด้วยอิฐขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนภูเขาลูกเล็ก ๆ ใกล้กับอุทยานฯ เป็นศิลปะเขมรสมัย บาปวน สร้างสำหรับคนเดินทางเพื่อใช้ประกอบพิธีทางศาสนา มีอายุประมาณ 1,500 ปีเศษถ้ำพระนารายณ์ เป็นสถานที่ที่เคยพบเทวรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี ซึ่งราษฎรที่พบคิดว่าเป็น พระนารายณ์ ปัจจุบันถูกทุบทำลายจนหมดคงเหลือแต่เฉพาะฐานเท่านั้นถ้ำพระแม่ย่า เป็นเพิงหินขนาดใหญ่เคยเป็นสถานที่ประดิษฐานรูปปั้นพระแม่ย่า ปัจจุบันได้อัญเชิญไว้ที่ศาล พระแม่ย่าบริเวณศาลากลางจังหวัดสุโขทัยถนนพระร่วง เป็นถนนสายประวัติศาสตร์ที่เชื่อมระหว่างเมืองกำแพงเพชรผ่านสุโขทัย จดศรีสัชนาลัย ด้วยระยะทาง 123 กิโลเมตร เชื่อว่าถนนสายนี้สร้างเมื่อ 700 ปีมาแล้ว เพื่อใช้เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์อาจถือว่าเป็นทางหลวงแผ่นดินสายแรกของประเทศไทยเขื่อนสรีดภงค์ และแหล่งต้นน้ำในอดีต สรีดภงค์ คือ ทำนบกั้นน้ำ หรือเขื่อน ในสมัยโบราณคือ ทำนบพระร่วง เป็นคันดินกั้นน้ำระหว่างเขาพระบาทใหญ่ และเขากิ่วอ้ายมา น้ำในเขื่อนจะถูกส่งไปตามคลองสู่กำแพงเมืองไหลเข้า สระตระพังเงิน ตระพังทองเพื่อใช้สอยในเมือง และพระราชวังในสมัยสุโขทัย ปัจจุบันกรมชลประทานได้บูรณะซ่อมแซม ขึ้นใหม่ สำหรับแหล่งต้นน้ำในอดีตเรียกว่า โซก (คือ ลำธาร) ที่สำคัญได้แก่ โซกพระร่วงลองพระขรรค์ โซกพระร่วงลับพระขรรค์ โซกพม่าฝนหอก โซกชมพู่ (รัชกาลที่ 6 เคยเสด็จประพาสในเที่ยวเมืองพระร่วง) ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำที่ไหลมาจากเขาประทักษ์ อัตราค่าเข้าอุทยานฯ นักท่องเที่ยว ชาวไทย ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 200 บาท เด็ก 100 บาท ในกรณีที่นักท่องเที่ยวใช้บริการลูกหาบขึ้นยอดเขาหลวงราคากิโลกรัมละประมาณ 10 บาท โดยสามารถติดต่อได้ที่อุทยานฯ สถานที่พักทางอุทยานฯ มีบริการบ้านพักไว้สำหรับนักท่องเที่ยว จำนวน 3 หลัง พักได้ 6-10 คน ราคา 500 บาท/คืน และมีเต็นท์ให้เช่า พักได้ 2-8 คน ราคา 50?200 บาท/คืน ในกรณีที่นักท่องเที่ยวนำเต็นท์มาเองเสียค่าพื้นที่กางเต็นท์ ราคาคนละ 30 บาท/คืน ติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานแห่งชาติรามคำแหง ตู้ ปณ. 1 อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย 64160 โทร. 0 5591 0000 หรือติดต่อกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช โทร. 0 2562 0760 หรือสำรองที่พักทางเว็บไซต์ที่ http://www.dnp.go.th การเดินทางรถยนต์ จากกรุงเทพฯ ถึงจังหวัดสุโขทัย สามารถใช้เส้นทางได้ 2 เส้นทาง เส้นทางแรก ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 32 ผ่านทางนครสวรรค์ แล้วให้เลี้ยวซ้ายใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ไปจนถึงกำแพงเพชร แล้วจากนั้นให้เปลี่ยนไปใช้เส้นทางหมายเลข 101 ไปจนถึงอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย ก่อนถึงจังหวัดสุโขทัย 20 กิโลเมตร บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 414 จะเห็นยอดเขาสูงอยู่ทางซ้ายมือแล้วเลี้ยวซ้ายเป็นระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตร ถึงที่ทำการของอุทยานแห่งชาติรามคำแหงเส้นทางที่สอง ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 32 ไปจนถึงนครสวรรค์ แล้วให้ใช้เส้นทางหมายเลข 117 ไปจนถึงพิษณุโลก และเปลี่ยนไปใช้เส้นทางหมายเลข 12 ไปจนถึงสุโขทัย แล้วเดินทางต่อถึงอำเภอคีรีมาศให้แยกซ้ายเข้าไป 16 กิโลเมตร จนเข้าสู่อุทยานฯ และ รถประจำทาง จากอำเภอคีรีมาศ นักท่องเที่ยวสามารถเหมารถสองแถวได้ที่บริเวณแยกคีรีมาศ ราคาเที่ยวละประมาณ 350-400 บาท รถประจำทางจากกรุงเทพฯใช้บริการรถโดยสารของ บ.ข.ส. หรือ บริษัทวินทัวร์ ที่ผ่านอำเภอคีรีมาศ ใช้เวลาเดินทาง 6 ชั่วโมง ลงที่แยกคีรีมาศ แล้วต่อมอเตอร์ไซค์รับจ้างเข้าอุทยานฯ หรือติดต่อให้อุทยานฯมารอรับที่ทางแยกก็ได้ข้อควรแนะนำสำหรับนักท่องเที่ยว- ทางอุทยานฯไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวเดินขึ้นยอดเขาหลวงหลังเวลา 15.30 น. - ด้านบนยอดเขานารายณ์มีเฉพาะอาหารแห้งจำหน่าย ดังนั้นนักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางไปค้างแรมด้านบนควรเตรียมอาหารให้เพียงพอ- ก่อนการเดินทางนักท่องเที่ยวควรสำรวจความพร้อมทางร่างกาย และจำเป็นต้องเตรียมอุปกรณ์สิ่งของจำเป็นไปด้วย เช่น เสื้อกันหนาว หมวก ไฟฉาย ยา อาหารแห้ง เป็นต้น เนื่องจากไม่สามารถซื้อของเหล่านี้ได้

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

อนุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงฯ
วัดตระพังเงิน
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
วัดช้างรอบ
วัดมหาธาตุ
วัดสระศรี
เตาทุเรียง
วัดสะพานหิน
วัดชนะสงคราม
วัดศรีสวาย
วัดพระพายหลวง
ทำนบพระร่วง
เนินปราสาทพระร่วง
ศาลตาผาแดง
วัดศรีชุม
วัดเชตุพน
กำแพงเมือง
วัดช้างล้อม
วัดตระพังทองหลาง
วัดเจดีย์สี่ห้อง
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย อยู่ตรงข้ามพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง ห่างจากตัวจังหวัดสุโขทัยไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๑๒ กิโลเมตร ถนนจรดวิถีถ่อง ทางหลวงหมายเลข 12 สายสุโขทัย-ตาก ในอดีตเมืองสุโขทัยเคยเป็นราชธานีของไทยมีความเจริญรุ่งเรือง เป็นศูนย์กลางการปกครอง ศาสนา และเศรษฐกิจ ภายในอุทยานฯ มีสถานที่สำคัญที่เป็นพระราชวัง ศาสนสถาน โบราณสถาน โดยมีคูเมือง กำแพงเมือง และประตูเมืองโบราณล้อมรอบอยู่ในรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส
บริเวณพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยครอบคลุมพื้นที่กว่า 70 ตารางกิโลเมตร และมีโบราณสถานสำคัญที่น่าชมมากมาย
อัตราค่าเข้าชม นักท่องเที่ยว ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 40 บาท หรือสามารถซื้อตั๋วรวมได้ ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 150 บาท โดยบัตรนี้สามารถเข้าชมอุทยานฯ ต่าง ๆ ในจังหวัดสุโขทัยได้ ภายในระยะเวลา 30 วัน เปิดให้ เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 06.00-21.00 น. (ปิดจำหน่ายบัตรเวลา 18.00 น.) หมายเหตุ ตั้งแต่เวลาประมาณ 19.00-21.00 น. จะมีการส่องไฟชมโบราณสถาน ในกรณีที่นำยานพาหนะเข้าเขตโบราณสถานจะต้องเสียค่าธรรมเนียมอีกด้วย และที่บริเวณลานจอดรถของอุทยานฯ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวมีบริการ รถราง นำชมรอบ ๆ บริเวณอุทยานฯ อัตราค่าบริการ นักท่องเที่ยว ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 20 บาท นอกจากนั้นที่บริเวณด้านหน้าอุทยานฯ มีบริการ รถจักรยาน ให้เช่าในราคาคันละ 20 บาท
กรณีเข้าชมเป็นหมู่เป็นคณะ และต้องการวิทยากรนำชม หรือนักท่องเที่ยวที่ต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ ศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย 64210 โทร. 0-5569-7310
การเดินทาง จากตัวเมืองสุโขทัย นักท่องเที่ยวสามารถนั่งรถประจำทางสายเมืองเก่า (รถสองแถว) มีรถออกทุก 20 นาที จอดรอบบริเวณท่ารถใกล้ป้อมยามตำรวจมาลงที่หน้าอุทยานฯ มีรถออกทุก 20 นาที

พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2518 ตั้งอยู่ริมถนนจรดวิถีถ่อง ทางทิศเหนือของวัดมหาธาตุ ลักษณะพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นพระบรมรูปหล่อด้วยโลหะทองเหลืองผสมทองแดงรมดำ ขนาด 2 เท่าขององค์จริง สูง ๓ เมตร ประทับนั่งห้อยพระบาทบนแท่นมนังคศิลาบาตร พระหัตถ์ขวาถือคัมภีร์ พระหัตถ์ซ้ายอยู่ในท่าทรงสั่งสอนประชาชน แท่นด้านซ้ายมีพานวางพระขรรค์ไว้ข้าง ๆ ลักษณะพระพักตร์เหมือนอย่างพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยตอนต้น ที่ถ่ายทอดความรู้สึกว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีน้ำพระทัยเมตตากรุณา ยุติธรรม มีความเด็ดขาดในการปกครองแบบพ่อปกครองลูก ที่ด้านข้างมีภาพแผ่นจำหลักจารึกเหตุการณ์เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระองค์ตามที่อ้างถึงในจารึกสุโขทัย

กำแพงเมืองสุโขทัย
ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า ปรากฏหลักฐานในศิลาจารึก เรียกว่า ตรีบูร มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดกว้าง 1,300 เมตร ยาว 1,800 เมตร กำแพงชั้นในเป็นศิลาแลงก่อบนคันดิน กำแพง 2 ชั้นนอกเป็นคูน้ำสลับกับคันดิน นอกจากทำหน้าที่ป้องกันข้าศึกแล้วคูน้ำยังใช้ระบายน้ำไม่ให้ไหลท่วมเมืองอีกด้วย ระหว่างกึ่งกลางแต่ละด้านมีประตูเมือง และป้อมหน้าประตูด้วย

วัดมหาธาต
ตั้งอยู่กลางเมือง เป็นวัดใหญ่ และวัดสำคัญของกรุงสุโขทัย มีพระเจดีย์มหาธาตุทรงดอกบัวตูม หรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ เป็นศิลปะแบบสุโขทัยแท้ ตั้งเป็นเจดีย์ประธาน ล้อมรอบด้วยเจดีย์ 8 องค์ บนฐานเดียวกัน คือ ปรางค์ศิลาแลงตั้งอยู่ที่ทิศทั้ง 4 และเจดีย์ทรงปราสาทก่อด้วยอิฐที่ได้รับอิทธิพลมาจากล้านนา จากการสำรวจ พบว่าบริเวณวัดมหาธาตุมีเจดีย์แบบต่าง ๆ มากถึง 200 องค์ วิหาร 10 แห่ง ซุ้มพระ (มณฑป) 8 ซุ้ม พระอุโบสถ 1 แห่ง ตระพัง 4 แห่ง ด้านตะวันออกบนเจดีย์ประธานมีวิหารขนาดใหญ่ก่อด้วยศิลาแลง มีแท่นซึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ พระศรีศากยมุนี ปัจจุบันได้รับการเคลื่อนย้ายไปอยู่ที่วัดสุทัศน์ฯ กรุงเทพมหานคร ที่ด้านเหนือ และด้านใต้ของเจดีย์มหาธาตุมีพระพุทธรูปยืนภายในซุ้มพระ เรียกว่า "พระอัฏฐารศ"

วัดชนะสงคราม
ตั้งอยู่ทางด้านเหนือของวัดมหาธาตุ ใกล้กับโบราณสถานที่เรียกว่าหลักเมือง เดิมเรียกว่า วัดราชบูรณะ มีลักษณะเด่นคือ เจดีย์ทรงระฆังกลมขนาดใหญ่ เป็นเจดีย์ประธาน และมีวิหาร โบสถ์ เจดีย์รายต่าง ๆ

เนินปราสาทพระร่วง หรือเขตพระราชวังในสมัยสุโขทัย
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกติดกับวัดมหาธาตุ มีโบราณสถานแห่งหนึ่งเรียกว่า เนินปราสาท พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสันนิษฐานว่าบริเวณนี้เคยเป็นฐานปราสาทราชวัง ของกษัตริย์เมืองสุโขทัย กรมศิลปากรได้ขุดแต่งบูรณะ เมื่อ พ.ศ. 2526 พบฐานอาคารแบบฐานบัวค่ำ บัวหงาย มีลักษณะเป็นฐานสูงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 27.50X51.50 เมตร มีบันไดที่ด้านหน้า และด้านหลัง
วัดตระพังเงิน
(คำว่า “ตระพัง” หมายถึง สระน้ำ หรือหนองน้ำ) เป็นโบราณสถานสำคัญ ตั้งอยู่บริเวณขอบตระพังเงินด้านทิศตะวันตกของวัดมหาธาตุ ห่างจากวัดมหาธาตุ 300 เมตร โบราณสถานนี้ไม่มีกำแพงแก้ว ประกอบด้วยเจดีย์ทรงดอกบัวตูมเป็นประธาน ลักษณะเด่นของเจดีย์ทรงดอกบัวตูม คือ มีจระนำที่เรือนธาตุทั้งสี่ด้านประดิษฐานพระพุทธรูปยืน และพระพุทธรูปปางลีลา (จระนำ หมายถึง ชื่อซุ้มท้ายวิหาร หรือท้ายโบสถ์ มักเป็นช่องตัน) วิหารประกอบอยู่ด้านหน้า และทางด้านตะวันออกของเจดีย์เป็นเกาะมีโบสถ์ตั้งอยู่กลางน้ำ


วัดสระศรี
เป็นวัดที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัดมหาธาตุ เป็นโบราณสถานสำคัญอยู่บริเวณกลางสระน้ำที่มีขนาดใหญ่ ชื่อว่า ตระพังตระกวน และสิ่งสำคัญของวัดประกอบด้วยเจดีย์ประธานทรงลังกา ด้านหน้าวิหารขนาดใหญ่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย มีเจดีย์ขนาดเล็ก ศิลปศรีวิชัยผสมลังกา ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ มีซุ้มพระพุทธรูป 4 ทิศ ด้านหน้ามีเกาะกลางน้ำขนาดย่อมเป็นที่ตั้งของพระอุโบสถขนาดเล็ก วัดแห่งนี้ได้ชื่อว่าเป็นจุดที่มีทัศนียภาพที่สวยงาม


วัดศรีสวาย
ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของวัดมหาธาตุ ห่างออกไปประมาณ 350 เมตร โบราณสถานที่สำคัญตั้งอยู่ในกำแพงแก้ว ประกอบด้วยปรางค์ 3 องค์ รูปแบบศิลปะลพบุรี ลักษณะของปรางค์ค่อนข้างเพรียว ตั้งอยู่บนฐานเตี้ย ๆ ลวดลายปูนปั้นบางส่วนเหมือนลายบนเครื่องถ้วยจีน สมัยราชวงศ์หยวน ได้พบทับหลังสลักเป็นรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ ชิ้นส่วนของเทวรูป และศิวลึงค์ที่แสดงให้เห็นว่าเคยเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดูมาก่อน แล้วแปลงเป็นพุทธสถานโดยต่อเติมวิหารขึ้นที่ด้านหน้า แล้วเป็นวัดในพุทธศาสนาภายหลัง


ศาลตาผาแดง
มีลักษณะเป็นโบราณสถานตามแบบศิลปเขมร ก่อด้วยศิลาแลง สมัยนครวัด (พ. ศ. 1650 - 1700) ต่อมากรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดแต่ง และบูรณะศาลนี้ได้พบชิ้นส่วนเทวรูป และเทวสตรีประดับด้วยเครื่องตกแต่ง ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง

ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
เป็นอาคารทรงไทยสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัย อยู่ใกล้วัดพระพายหลวง ภายในอาคารเป็นศูนย์ให้ข้อมูลและอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย รวมทั้งจัดแสดงแบบจำลองของโบราณสถานต่าง ๆ ในเขตเมืองเก่าสุโขทัย นักท่องเที่ยวควรเริ่มต้นชมอุทยานฯ จากจุดนี้เพื่อจะได้เห็นภาพรวมของสุโขทัยในอดีต


แหล่งโบราณคดีเครื่องปั้นดินเผาสุโขทัย (เตาทุเรียง)
อยู่ใกล้วัดพระพายหลวง บริเวณแนวคูเมืองเก่าที่เรียกว่า “แม่โจน” เป็นเตาเผาถ้วยชามสมัยสุโขทัย มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 ค้นพบเตาโดยรอบ 49 เตา ซึ่งส่วนใหญ่อยู่บริเวณคันคูแม่น้ำโจนด้านทิศเหนือ 37 เตา ด้านทิศใต้ข้างกำแพงเมือง 9 เตา และด้านทิศตะวันออก 3 เตา เตาเผาเครื่องสังคโลกมีลักษณะคล้ายประทุนเกวียนขนาดกว้าง 1.50 - 2.00 เมตร ยาว 4.5 เมตร เครื่องปั้นดินเผาที่พบบริเวณนี้ส่วนใหญ่เป็นประเภทถ้วยชาม มีขนาดใหญ่ น้ำยาเคลือบขุ่น สีเทาแกมเหลือง มีลายเขียนสีดำ ส่วนใหญ่ทำเป็นรูปดอกไม้ ปลา และจักร


วัดพระพายหลวง
เป็นโบราณสถานขนาดใหญ่มีความสำคัญเป็นอันดับสองรองจากวัดมหาธาตุ ผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีคูน้ำล้อมรอบ 3 ชั้น คูชั้นนอกเรียกว่า คูแม่โจน วัดพระพายหลวงเป็นศูนย์กลางของชุมชน โบราณสถานทเก่าแก่ที่สุดของวัด คือ พระปรางค์ 3 องค์ เป็นปรางค์ประธานของวัด ก่อด้วยศิลาแลง ศิลปะเป็นเขมรแบบบายน สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ด้านหน้าของวัดเป็นอาคารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น 4 อิริยาบถ คือนั่ง นอน ยืน เดิน


วัดศรีชุม

ตั้งอยู่ห่างจากวัดพระพายหลวงไปทางทิศตะวันตก 800 เมตร เป็นวัดที่ประดิษฐาน พระอจนะ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง 11.30 เมตร ลักษณะของวิหารสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมลักษณะคล้ายมณฑป แต่หลังคาพังทลายลงมาหมดแล้ว เหลือเพียงผนังทั้งสี่ด้าน ผนังแต่ละด้าน ก่ออิฐถือปูนอย่างแน่นหนา ผนังทางด้านใต้มีช่องให้คนเข้าไปภายใน และเดินขึ้นไปตามทางบันไดแคบ ๆ ถึงผนังด้านข้างขององค์พระอจนะ หรือสามารถขึ้นไปถึงสันผนังด้านบนได้ ภายในช่องกำแพงตามฝาผนังมีภาพเขียนเก่าแก่แต่เลอะเลือนเกือบหมด ภาพเขียนนี้มีอายุเกือบ 700 ปี นอกจากนี้แล้วบนเพดานช่องบันไดยังมีแผ่นหินชนวนขนาดใหญ่แกะสลักลวดลายเรื่องชาดกต่าง ๆ มีจำนวนทั้งหมด 50 ภาพ เมื่อเดินตามช่องทางบันไดขึ้นไปจะโผล่บนหลังคาวิหารมองเห็นทิวทัศน์อันงดงามของเมืองเก่าสุโขทัยได้โดยรอบ
เพราะเหตุใดวิหารวัดศรีชุมจึงมีความเร้นลับซ่อนอยู่อย่างนี้ เรื่องนี้หากพิจารณากันอย่างลึกซึ้งแล้วจะพบว่าพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วงทรงพระปรีชาสามารถในด้านปลุกปลอบใจทหารหาญ และด้านอื่น ๆ อีกมาก เพราะผนังด้านข้างขององค์พระอจนะมีช่องเล็ก ๆ ถ้าหากใครแอบเข้าไปทางอุโมงค์แล้วไปโผล่ที่ช่องนี้ และพูดออกมาดัง ๆ ผู้ที่อยู่ภายในวิหารจะต้องนึกว่าพระอจนะพูดได้ และเสียงพูดนั้นจะกังวานน่าเกรงขาม เพราะวิหารนี้ไม่มีหน้าต่าง แต่เดิมคงมีหลังคาเป็นรูปโค้งคล้ายโดม


วัดช้างรอบ
อยู่ห่างจากประตู้อ้อไปทางทิศตะวันตกประมาณ 2.4 กิโลเมตร มีโบราณสถานที่สำคัญประกอบด้วย เจดีย์ทรงกลมแบบลังกา ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีช้างโผล่ครึ่งตัว มีจำนวน 24 เชือก พระอุโบสถอยู่ด้านหน้าเจดีย์ประธาน และมีเจดีย์ราย 5 องค์ ล้อมรอบเจดีย์ประธาน และโบสถ์


วัดสะพานหิน
วัดนี้ตั้งอยู่บนเนินเขา สูงประมาณ 200 เมตร บริเวณทางเดินขึ้นโบราณสถานมีทางเดินปูลาดด้วยหินชนวนจากตีนเขาขึ้นไปเป็นระยะทาง 300 เมตร สิ่งสำคัญภายในวัด ได้แก่ พระประธานเป็นพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานพระปางประทานอภัย สูง 12.50 เมตร เรียกว่า “พระอัฏฐารศ”


เขื่อนสรีดภงค์ หรือทำนบพระร่วง
ตั้งอยู่บริเวณเมืองเก่า ทำนบนี้เป็นเขื่อนดิน (คันดิน) สำหรับกั้นน้ำอยู่ระหว่างซอกเขาคือ เขาพระบาทใหญ่ และเขากิ่วอ้ายมา ที่สร้างขึ้นเพื่อกักน้ำ และชักน้ำไปตามคลองส่งน้ำมาเข้ากำแพงเมืองเข้าสระตระพังเงิน ตระพังทอง เพื่อนำไปใช้ในเมือง และพระราชวังในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบันกรมชลประทานได้ปรับปรุงบูรณะ และซ่อมแซมขึ้นใหม่


วัดเชตุพน
ศิลปกรรมที่น่าสนใจของวัดคือ มณฑปที่สร้างด้วยหินชนวน เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสี่อิริยาบท คือนั่ง นอน ยืน เดิน ภายในมณฑปเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปโดยมีการใช้วัสดุทั้งอิฐ หินชนวน ศิลาแลง ในการก่อสร้าง สิ่งที่น่าชมภายในวัด คือ กำแพงแก้วที่ล้อมรอบมณฑปจตุรมุขนี้สร้างจากหินชนวนที่มีขนาดใหญ่ และหนา โดยมีการสกัด และบากหินเพื่อทำเป็นกรอบ และซี่กรงเลียนแบบเครื่องไม้ และยังได้พบศิลาจารึกที่วัดนี้หลักที่ 58 จารึกในปี พ.ศ. 2057 กล่าวว่าเจ้าธรรมรังสีสร้างพระพุทธรูปในวัดนี้


วัดเจดีย์สี่ห้อง
ตั้งอยู่ทางตะวันออกของวัดเชตุพน ห่างไปประมาณ 100 เมตร โบราณสถานที่น่าสนใจ คือ ที่ฐานเจดีย์ประธานมีภาพปูนปั้นประดับโดยรอบปั้นเป็นรูปบุคคล รูปบุรุษ และสตรี สวมอาภารณ์ และเครื่องประดับ ในมือถือภาชนะ มีพรรณพฤกษางอกโผล่พ้นออกมาที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ นอกจากนั้นมีปูนปั้นรูปช้าง และสิงห์ประดับรูปบุคคล องค์เจดีย์ประธานเป็นทรงระฆังกลมที่ได้รับการบูรณะ ส่วนยอดเจดีย์ได้หักพังลง


วัดช้างล้อม
เป็นโบราณสถานที่สำคัญ มีเจดีย์ทรงกลมแบบลังกาเป็นประธานของวัด รอบฐานเจดีย์ประดับด้วย ปูนปั้นเป็นรูปช้างโผล่ครึ่งตัว ด้านหน้ามีฐานวิหารก่อด้วยอิฐ และยังมีฐานกำแพงแก้วก่อด้วยอิฐล้อมรอบ


วัดตระพังทองหลาง
อยู่ริมถนนจรดวิถีถ่อง หากเดินทางมาจากจังหวัดสุโขทัยวัดตระพังทองหลางอยู่ริมซ้ายมือ ศิลปกรรมที่สำคัญคือ มณฑปรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสก่อด้วยอิฐ ผนังด้านนอกประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น ตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงส์ ตอนประทานเทศนาโปรดพระพุทธบิดากับกษัตริย์ศากยราช และตอนเสด็จโปรดนางพิมพา นับเป็นศิลปกรรมชิ้นเอกของสุโขทัย

สิ้นค้า OTOP จังหวัดสุโขทัย

OTOP สุโขทัย

ในห้วงเวลาที่ประเทศชาติ กำลังเผชิญปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจ และประชาชน ทุกระดับ ประสบปัญหาต่าง ๆปัญหาหนึ่งที่ประชาชนระดับรากหญ้า ซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ของประเทศถูก รุมเร้าคือปัญหาความยากจน รัฐบาลจึงได้ประกาศสงครามกับความยากจน โดยได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาว่า จะจัดให้มีโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เพื่อให้แต่ละชุมชนได้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการพัฒนาสินค้าโดยรัฐพร้อมที่จะเข้าช่วยเหลือในด้านความรู้สมัยใหม่ และการบริหารจัดการเพื่อเชื่อมโยงสินค้าจากชุมชนสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศด้วยระบบร้านค้าเครือข่ายและอินเตอร์เน็ต เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกระบวนการพัฒนาท้องถิ่น สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างรายได้ด้วยการนำทรัพยากร ภูมิปัญญาในท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพ มีจุดเด่นและมูลค่าเพิ่ม เป็นที่ต้องการของตลาด ทั้งในและต่างประเทศและได้กำหนดระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ พ.ศ. 2544 ประกาศ ณ วันที่ 7 กันยายน 2544 ขึ้น โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ หรือเรียกโดยย่อว่า กอ.นตผ ซึ่งฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายปองพล อดิเรกสาร) เป็นประธานกรรมการ และให้คณะกรรมการ กอ.นตผ มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนแม่บทการดำเนินงาน“หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” กำหนดมาตรฐานและหลักเกณฑ์การคัดเลือกและขึ้นบัญชีผลิตภัณฑ์ดีเด่นของตำบลรวมทั้งสนับสนุนให้การดำเนินงานเป็นไปตามนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนแม่บท อย่างมีประสิทธิภาพ
ปรัชญา
“หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” เป็นแนวทางประการหนึ่ง ที่จะสร้างความเจริญแก่ชุมชน ให้สามารถยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของคนในชุมชนให้ดีขึ้น โดยการผลิตหรือจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น ให้กลายเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ มีจุดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่ สอดคล้องกับวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น สามารถจำหน่ายในตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ โดยมีหลักการ พื้นฐาน 3 ประการ คือ 1) ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากล (Local Yet Global) 2) พึ่งตนเองและคิดอย่างสร้างสรรค์ (Self-Reliance-Creativity) 3) การสร้างทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development) ผลิตภัณฑ์ ไม่ได้หมายถึงตัวสินค้าเพียงอย่างเดียวแต่เป็นกระบวนการทางความคิด รวมถึงการบริการ การดูแลการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การรักษาภูมิปัญญาไทย การท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี การต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มีจุดเด่น จุดขายที่รู้จักกันแพร่หลายไปทั่วประเทศและทั่วโลก
วัตถุประสงค์
จากนโยบายของรัฐบาล ที่แถลงต่อรัฐสภา และตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ พ.ศ. 2544 การดำเนินงานตามโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) สร้างงาน สร้างรายได้ แก่ชุมชน2) สร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน ให้สามารถคิดเอง ทำเอง ในการพัฒนาท้องถิ่น3) ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น4) ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์5) ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของชุมชน ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยสอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมในท้องถิ่น
การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์
นตผ.จังหวัด ได้ดำเนินการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ จำนวน 1 คณะ ให้มีหน้าที่วางแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้านการแปรรูป ออกแบบบรรจุภัณฑ์ การบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน ตลอดจนติดตามประเมินและรายงานความก้าวหน้าให้ นตผ.จังหวัดทราบทุกระยะ
ผลการดำเนินการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ มีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐาน จำนวน 12 รายการ ดังนี้
เครื่องหมายรับรอง อย. จำนวน 10 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่
1. น้ำปลา ต.บ้านหลุม อ.เมืองสุโขทัย
2. น้ำปลา ต.ยางซ้าย อ.เมืองสุโขทัย
3. ถั่วทอด ต.คลองตาล อ.ศรีสำโรง
4. กล้วยอบเนย ต.หนองตูม อ.กงไกรลาศ
5. มันอบเนย ต.หนองตูม อ.กงไกรลาศ
6. กล้วยตาก ต.หนองตูม อ.กงไกรลาศ
7. กล้วยอบเนย ต.ท่าฉนวน อ.กงไกรลาศ
8. ทองม้วน ต.บ้านกร่าง อ.กงไกรลาศ
9. กล้วยกวน ต.ท่าชัย อ.ศรีสัชนาลัย
10. เผือกอบเนย ต.หนองตูม อ.กงไกรลาศ

มาตรฐานเศรษฐกิจพื้นบ้านสุโขทัย (ศมศ.) จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ 1. ผ้าจกหาดเสี้ยว ต.หาดเสี้ยว อ.ศรีสัชนาลัย
2. ทองโบราณ ต.ท่าชัย อ.ศรีสัชนาลัย

วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2552

ทองสุโขทัย ทองศรีสัชนาลัย ทองลายโบราณ

เชิญเข้าเว็บไซต์ w.w.w.natanagold.com มีให้ชมมากมาย ติดต่อสอบถามอย่างเป็นกันเอง

วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552

พระกระต่ายแกลบ กรุวัดเขาพนมเพลิง เมืองศรีสัชนาลัย เมืองศรีสัชนาลัย และ พระเครื่องกรุเขาพนมเพลิง

พระกระต่ายแกลบ กรุวัดเขาพนมเพลิง เมืองศรีสัชนาลัย เมืองศรีสัชนาลัย และพระเครื่องกรุเขาพนมเพลิง
พระกระต่ายแกลบ กรุวัดเขาพนมเพลิง
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน การเล่นหาสะสมพระเครื่องนั้น ถ้าเราได้ศึกษาประวัติความเป็นมาของพระเครื่องนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นพระเกจิอาจารย์หรือพระกรุพระเก่าต่างๆ เราก็จะได้รับความรู้เรื่องราวของพระนั้นๆ ในอดีตอีกด้วย ถ้าเป็นพระกรุก็จะได้รับรู้ประวัติศาสตร์ของกรุนั้นเมืองนั้นควบคู่ได้ด้วย เมื่อเรารู้ว่าพระนั้นๆ เป็นพระในสมัยใด ถ้าเราช่างสังเกตก็จะเห็นศิลปะในแต่ละยุคสมัย ว่ามีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละยุคในแต่ละช่วงของประวัติศาสตร์ เราก็จะได้ความรู้ความเพลิดเพลินและสนุกไปกับการค้นคว้านั้นๆ ไปด้วย นับว่าได้ถึงสองต่อ คือได้องค์พระที่เราชอบและวิธีการดู ได้ความรู้ในเชิงศิลปะและประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นความรู้รอบตัวแถมไปด้วย วันนี้จะมาคุยถึงเมืองศรีสัชนาลัย และพระเครื่องกรุเขาพนมเพลิง (วัดเขาพนมเพลิง)กันครับเมืองเชลียง เมืองศรีสัชนาลัย และเมืองสวรรคโลก แต่เดิมเข้าใจกันว่าเป็นคนละเมืองกัน ซึ่งความเป็นจริงแล้วเป็นเมืองๆ เดียวกัน แต่มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามยุคสมัย เมืองศรีสัชนาลัยเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีมาก่อนตั้งกรุงสุโขทัย แถบนี้เดิมเป็นชุมชนเก่าแก่เป็นเมืองขนาดย่อมชื่อว่าเมืองเชลียง ตั้งอยู่แถบวัดพระศรีรัตนมหาธาตุและวัดเจ้าจันทร์ ทางด้านทิศตะวันออกของเมืองศรีสัชนาลัยในปัจจุบัน เมืองเชลียงนี้เป็นเมืองเก่าแก่ที่สุดของลุ่มน้ำยม มีอายุใกล้เคียงกับเมืองหริภุญชัยของลำพูนในสมัยสุโขทัยช่วงต้นๆ นั้น ทั้งเมืองสุโขทัยเองและเมืองศรีสัชนาลัยก็เป็นศูนย์กลางการค้าขายและการ ศาสนาควบคู่กันไป ดังมีหลักฐานปรากฏในหลักศิลาจารึกกล่าวถึงเมืองทั้งสอง ตลอดระยะเวลาของกรุงสุโขทัย ศรีสัชนาลัยก็ได้รับการสถาปนาเป็นเมืองลูกหลวงอันสำคัญ กษัตริย์สุโขทัยจะให้ราชโอรสหรืออุปราชไปปกครองอยู่เสมอ เมื่อครั้งรัชสมัยของพระมหาธรรมราชาลิไท ถือได้ว่าเป็นยุคทองของแว่นแคว้นนี้ สิ่งก่อสร้างอันได้แก่ ศาสนสถาน เทวสถาน ทั้งที่อยู่ในเมืองและนอกเมือง ได้รับการพัฒนาก่อสร้างและบูรณะซ่อมแซมขึ้นในรัชกาลนี้เป็นจำนวนมาก ครั้นสิ้นสุดรัชสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท สุโขทัยก็อ่อนกำลังลงมาก บรรดาหัวเมืองต่างๆ ก็แยกตัวกันเป็นอิสระ จนกระทั่งในรัชสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพระงั่ว) สุโขทัยก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยาโบราณสถานที่สำคัญของเมืองศรีสัชนาลัยได้แก่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ กรุพระที่พบพระร่วงหลังรางปืน วัดเขาพนมเพลิง วัดช้างล้อม วัดเจดีย์เจ็ดแถว วัดสวนแก้วอุทยานน้อย และเตาทุเรียงที่เป็นสถานที่ผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่ใหญ่ที่สุดของสุโขทัยวัดเขาพนมเพลิง เป็นกรุพระกรุใหญ่กรุหนึ่งที่ถูกคนร้ายลักลอบขุดเมื่อปี พ.ศ. 2507 ได้พระเครื่องไปเป็นจำนวนมาก พระกรุวัดเขาพนมเพลิงนี้มีทั้งพระเนื้อชินเงินและพระเนื้อดินเผา มีมากมายหลายสิบพิมพ์ พิมพ์ที่มีคนรู้จักกันมาก็คือพระศาสดาที่มีชื่อเสียงโด่งดังพอๆ กับพระพุทธชินราชใบเสมาและพระพุทธชินสีห์ ของพิษณุโลก พระศาสดาเป็นพระเนื้อชินเงินผิวปรอท นอกจากนี้ยังพบมีพระอู่ทองตะกวน พระลีลาบัวสองชั้น พระเปิดโลก พระลีลาซุ้มเรือนแก้วหรือพิมพ์ซุ้มหงอนไก่ พระพิจิตรข้างเม็ดซึ่งเป็นพระขนาดเล็ก พระกระต่ายแกลบหรือที่บางท่านมักเรียกว่าพระซุ้มเรือนแก้วฐานบัวขีด พระกระต่ายแกลบพิมพ์เล็ก พระนางแขนอ่อน พระร่วงนั่งหลังตัน ซึ่งสร้างล้อพระร่วงนั่งหลังลิ่ม พระกรุนี้ส่วนมากเป็นพระเนื้อชินเงินผิวปรอทขาวแทบทั้งสิ้น ส่วนพระเนื้อดินก็มีบ้างเช่นพระเม็ดน้อยหน่าก็ยังพบปะปนที่กรุนี้ด้วยในวันนี้ผมได้นำพระซุ้มเรือนแก้วฐานบัวขีด (กระต่ายแกลบ) พิมพ์ใหญ่ กรุวัดเขาพนมเพลิงมาให้ชมกันทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ขอขอบคุณ คุณภักดิ์ มรดกไทย ที่กรุณาเอื้อเฟื้อภาพมาให้ในครั้งนี้ครับ

วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2552

พระแม่ย่า

พระแม่ย่า

พระแม่ย่า เดิมนั้นประดิษฐานอยู่ที่ถ้ำพระแม่ย่า ซึ่งเป็นเพิงชะโงกเงื้อมออกมาทางใต้ ประมาณ 3 เมตรเศษ พระแม่ย่าหันพระพักตร์ไปทางทิศใต้ตามเงื้อมเขาที่ยื่นล้ำออกมาทางด้านหลังเงื้อมผามีถ้ำตื้น ๆ


องค์เทวรูป (พระแม่ย่า) เป็นเทวรูปหิน สลักด้วยหินชนวน เป็นรูปสตรีวัยสาว มีเครื่องประดับอย่างสตรีโบราณผู้สูงศักดิ์ ประทับยืนตรง แขนทั้งสองข้างแนบพระวรกาย นุ่งผ้าปล่อยชายไหว เป็นเชิงชั้นทั้งสองข้างแบบศิลปการนุ่งผ้าสตรีสมัยสุโขทัย ไม่สวมเสื้อหรือสไบเปลือยส่วนบนทั้งหมด เห็นพระถันทั้งสองเต้า ใส่กำไลแขน กำไลข้อมือและกำไลข้อเท้าทั้งสองข้าง เป็นกำไลวงกลม มีพระพักตร์เป็นรูปไข่ คางมน พระโอษฐ์แย้มยิ้มน้อย ๆ สวมมงกุฎเป็นแบบชฎาทรงสูง ที่พระบาทสวมรองพระบาทปลายงอน ยอดศิลาส่วนที่เหนือพระมงกุฎแตกบิ่นหายไปบ้าง เมื่อวัดขนาดของเทวรูปศิลารวมแท่นหินแผ่นเดียวกันที่คงอยู่ สูงทั้งหมด 51 นิ้ว วัดจากพระบาทถึงยอดพระมงกุฎ สูง 49 นิ้ว ศิลาจำหลักเป็นศิลาแท่งเดียวกันตลอดไม่มีรอยต่อ
ประวัติที่มาอันแน่นอนของพระแม่ย่านั้น ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอนว่าเป็นใคร เมื่อประชาชนพากันเรียกว่า “พระแม่ย่า” อาจารย์ทองเจือ สืบชมภู สันนิษฐานว่าคงเป็นนางกษัตริย์องค์ใดองค์หนึ่ง และนางกษัตริย์องค์นี้น่าจะเป็นพระนางเสือง ซึ่งเป็นพระราชชนนีของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และเป็นพระเจ้าย่าของพระยาลิไท
ตามหลักฐานที่ปรากฏในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงได้กล่าวว่า “...เบื้องหัวนอนเมืองสุโขทัยนี้มีกุฎี พิหาร ปู่ครู มีสรีดภงส์ มีป่าพร้าว มีป่าลาง มีป่าขาม มีน้ำโคก มีพระขพุงผี เทพดาในเขาอนนนั้นเป็นใหญ่กว่าผีทุกผีในเมืองนี้ ขุนผู้ใดถือเมืองสุโขไทนี้แล้ ไหว้ดีพลีถูก เมืองนี้เที่ยง เมืองนี้ดี ผิไหว้บ่ดี พลีบ่ถูก ผีในเขาอนนบ่คุ้มเกรงเมืองนี้หาย...” จากข้อความดังกล่าว ได้มีการนำคำว่า “พระขพุงผี” มาตีความเกี่ยวพันกับพระแม่ย่า โดยที่นักประวัติศาสตร์และโบราณคดีได้สันนิษฐาน ในครั้งที่มีการสัมมนาถึงการเมืองและสภาพสังคมสุโขทัย เมื่อวันที่ 1-4 สิงหาคม 2520 ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก ได้ลงความเห็นว่า พระขพุงผี หมายถึง พระที่โตหรือใหญ่ ซึ่งน่าจะเข้ากับศิลาจารึกว่า พระขพุงผีนี้เป็นใหญ่กว่าผีทั้งหลายได้...พ่อขุนรามคำแหงก็ทรงเคารพเลื่อมใสพระพุทธรูปองค์นี้มากอยู่ โดยทรงยกให้เป็นยอดของผีทั้งหลาย ถ้า แม่ย่านี้สร้างอุทิศเพื่อผีจริงแล้วก็จะต้องเป็นผีนางเสืองแน่ พระเจ้ารามคำแหงคงจะไม่เคารพผีอื่น เมื่อเป็นเช่นนี้พระปฏิมาพระองค์นี้จะต้องเป็นปูชนียวัตถุที่สำคัญของชาติและของชาวสุโขทัยชิ้นหนึ่ง
ศาลพระแม่ย่าเป็นปูชนียสถานที่สำคัญของสุโขทัย เป็นที่เคารพสักการะของประชาชน ทั้งในจังหวัดสุโขทัยประประชาชนโดยทั่วไป ใครมีเรื่องทุกข์ร้อนก็จะไปกราบไหว้ตั้งจิตอธิษฐานขอความช่วยเหลือจากพระแม่ย่า เล่ากันว่ามักจะได้ดังที่ขอ เกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์ของพระแม่ย่านั้น อาจารย์ทองเจือ สืบชมภู ได้เขียนกลอนเพื่อสักการะบูชาพระแม่ย่าไว้ ดังนี้


พระแม่ย่ามิ่งเมือง
จุดเทียนธูปเก้าดอกบอกแม่ย่า กราบบาทรำลึกคุณอุ่นเกศี
บุญพระแม่ย่าจงอยู่คู่ธานี คุ้มครองลูกทุกชีวีตลอดมา
เดือดเนื้อร้อนใจก็ไปกราบ ร่ำพิลาบทุกข์ใจลูกไปหา
วอนแม่ช่วยอวยสุขทุกเวลา แผ่เมตตาช่วยลูกแก้ทุกข์ใจ
ผิดถูกอย่างไรให้แม่ช่วย แม่ก็อวยเอื้อจิตพิศมัย
ทำดีแม่ยิ่งช่วยอำนวยชัย อุปถัมภ์ค้ำให้ดังเจตนา
จะหาใครดังเช่นนี้ไม่มีแล้ว แม่ย่าคือดวงแก้วกระจ่างหล้า
สุโขทัยสุขสันต์ทุกวันมา เพราะมีพระแม่ย่าเป็นมิ่งเมือง


ปัจจุบันศาลพระแม่ย่าจัดสร้างขึ้นใหม่ เริ่มดำเนินการเมื่อ ปี พ.ศ. 2537 สมัยที่นายเกียรติพันธ์ น้อยมณี เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด โดยกราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ มาทรงวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2537 และดำเนินการก่อสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2541 มีการทำพิธีอันเชิญพระแม่ย่าเข้าประดิษฐาน ณ ศาลแห่งใหม่ เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2541 และจังหวัดสุโขทัย ได้จัดให้งานพระแม่ย่าเป็นงานประจำปีของจังหวัดสุโขทัย โดยจะจัดในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
สำหรับพระแม่ย่าตามความรู้สึกของชาวสุโขทัย เข้าใจว่าเป็นรูปนางเสือง พระราชมารดาพ่อขุนรามคำแหงมหาราช สมัยนั้นถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นพ่อเมืองเหมือนพ่อคนทั้งเมือง ลูก ๆ จึงเรียกว่า “ย่า” เพราะฉะนั้นการเรียกชื่อ ถ้ำแม่ย่า และเขาแม่ย่า ชาวสุโขทัยจึงเรียกตามความเชื่อดังกล่าวข้างต้น รวมทั้งเรียกตามโบราณวัตถุ คือ พระพุทธรูปแม่ย่าประดิษฐานอยู่ครั้งแรกเป็นสำคัญ
ในปี พ.ศ. 2457 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ องค์พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย ก็ได้ทรงออกค้นหา “พระขพุงผีเทวดา” ที่บริเวณทิศเบื้องหัวนอนเมืองสุโขทัย ตามที่ศิลาจารึกบอกไว้ ทรงคาดหมายว่าน่าจะสร้างขึ้นไว้เป็นองค์เทวรูป ตั้งประดิษฐ์ไว้มากกว่าที่จะมีเพียงแต่ชื่อ และก็ทรงพบ องค์เทวรูปผู้หญิงสลักด้วยแท่งศิลาอยู่ในถ้ำที่ภูเขาแห่งหนึ่งห่างจากเมืองสุโขทัยเก่าไปทางทิศใต้ราว 7 กิโลเมตร จึงทรงพระวินิจฉัยว่า เทวรูปหินนี้ที่จะใช่ “พระขพุงผี” ผู้รักษาเมืองสุโขทัยไว้ตามที่ศิลาจารึกหลักที่ 1 จารึกบอกไว้ด้วยว่าเทวรูปอื่นในเทือกเขาหลวงนี้ไม่มีที่ไหนอีกแล้ว และเทวรูปนี้ชาวบ้านแถบนั้นต่าง พากันเคารพนับถืออย่างยิ่ง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระวิตกว่า ถ้าปล่อยให้องค์เทวรูปตั้งอยู่ในป่าอย่างนี้ต่อไป อาจสูญหายหรือถูกทำลายให้ชำรุดพังลงได้ ควรอัญเชิญไปเก็บรักษาไว้ที่ในตัวเมืองใหม่
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2460 พระยารามราชภักดี (ใหญ่ ศรลัมภ์) เจ้าเมืองสมัยนั้น จึงอัญเชิญมาไว้ ณ ศาลากลางจังหวัด องค์เทวรูป (พระแม่ย่า) เมื่อย้ายไปอยู่เมืองสุโขทัยใหม่ ๆ ยังไม่มีเทวาลัย เป็นที่ประดิษฐาน คงเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ศาลากลางจังหวัดสุโขทัย เคยย้ายไปประดิษฐานในศาลาสวรรคโลกระยะหนึ่ง (สมัยเมื่อเปลี่ยนจังหวัดสุโขทัยเป็นจังหวัดสวรรคโลก เมื่อปี พ.ศ. 2475) แต่ภายหลังก็อัญเชิญกลับจังหวัดสุโขทัยตามเดิมและต่อมาในระยะหลังจากนั้น เกิดประเพณีแห่แหนองค์เทวรูป (พระแม่ย่า) ในวันมหาสงกรานต์ ถือกันว่าทำให้ฝนตก ซึ่งปรากฏว่ามีฝนตกใหญ่ทุกครั้งที่นำเทวรูปองค์จริงออกแห่ให้ ประชาชนสรงน้ำเป็นที่น่าอัศจรรย์ จนนายเชื่อ ศิริสนธิ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัยสมัยนั้น เกรงว่าจะมีการแห่งพระแม่ย่าจนอาจจะตกหักเสียหายขึ้นได้ จึงได้สร้างเทวาลัยเป็นที่ประดิษฐานอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยมฝั่งตะวันออก ตรงหน้าศาลากลางจังหวัดสุโขทัย เรียกว่า “ศาลพระแม่ย่า” องค์เทวรูป (พระแม่ย่า) ได้ประดิษฐานอยู่ในเทวาลัยแห่งนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2496 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

พระยาลิไท

พญาลิไท หรือ พระยาลิไท หรือ พระศรีสุริยพงศ์รามมหาราชาธิราช หรือพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ครองราชย์ พ.ศ. 1897 - พ.ศ. 1919) พระมหากษัตริย์อาณาจักรสุโขทัยราชวงศ์พระร่วงลำดับที่ 5 พระโอรสพญาเลอไท และพระราชนัดดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชพญาลิไทเป็นกษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งกรุงสุโขทัย ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระยางัวนำถม จากหลักฐานในศิลาจารึกวัดพระมหาธาตุ พ.ศ. 1935 หลักที่ 8 ข. ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2499 ได้กล่าวว่า เมื่อพระยาเลอไทสวรรคต ใน พ.ศ. 1884 พระยางัวนำถมได้ขึ้นครองราชย์ ต่อมาพระยาลิไทยกทัพมาแย่งชิงราชสมบัติได้ และขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. 1890 ทรงพระนามว่า พระเศรีสุริยพงสรามมหาธรรมราชาธิราช ในศิลาจารึกมักเรียกพระนามเดิมว่า "พระยาลิไท" หรือเรียกย่อว่า พระมหาธรรมราชาที่ 1พญาลิไททรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ทรงผนวชในพระพุทธศาสนาเมื่อ พ.ศ. 1905 ที่วัดป่ามะม่วง นอกเมืองสุโขทัยทางทิศตะวันตก ทรงอาราธนาพระสามิสังฆราชจากลังกาเข้ามาเป็นสังฆราชใน กรุงสุโขทัย เผยแพร่เพิ่มความเจริญให้แก่พระศาสนามากยิ่งขึ้น ทรงสร้างและบูรณะวัดมากมายหลายแห่ง รวมทั้งการสร้างพระพุทธรูปเป็นจำนวนมาก เช่น พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา และพระพุทธรูปองค์สำคัญองค์หนึ่งของประเทศคือ พระพุทธชินราช ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหารพญาลิไท ทรงปราดเปรื่องในความรู้ในพระพุทธศาสนา ทรงมีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก พระองค์ได้ทรงแบ่งพระสงฆ์ออกเป็น 2 ฝ่ายคือฝ่าย "คามวาสี" และฝ่าย "อรัญวาสี" โดยให้ฝ่ายคามวาสีเน้นหนักการสั่งสอนราษฎรในเมืองและเน้นการศึกษาพระไตรปิฎก ส่วนฝ่ายอรัญวาสีเน้นให้หนักด้านการวิปัสสนาและประจำอยู่ตามป่าหรือชนบท ด้วยทรงเป็นองค์อุปถัมภ์พระศาสนาตลอดพระชนม์ชีพ ราษฎรจึงถวายพระนามว่า "พระมหาธรรมราชา"นอกจากศาสนาพุทธแล้ว พญาลิไทยังทรงอุปถัมภ์ศาสนาพราหมณ์ด้วยโดยทรงสร้างเทวรูปขนาดใหญ่หลายองค์ซึ่งยังเหลือปรากฏให้ศึกษาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในกรุงเทพมหานครและที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดพิษณุโลกทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญหลายประการ เช่น สร้างถนนพระร่วงตั้งแต่เมืองศรีสัชนาลัยผ่านกรุงสุโขทัยไปถึงเมืองนครชุม (กำแพงเพชร) บูรณะเมืองนครชุม สร้างเมืองสองแคว (พิษณุโลก) เป็นเมืองลูกหลวงด้านอักษรศาสตร์ทรงพระปรีชาสามารถนิพนธ์หนังสือไตรภูมิพระร่วงที่นับเป็นงานนิพนธ์ที่เก่าแก่ที่สุดเรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทยพระราชกรณียกิจที่สำคัญ - การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาศูนย์รวมจิตใจของคนในชาติ เพราะสุโขทัยหลังรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้ว บ้านเมืองแตกแยกแคว้นหลายแคว้นในราชอาณาจักรแยกตัวออกห่างไป ไม่อยู่ในบังคับบัญชาสุโขทัยต่อไป - พญาลิไททรงคิดจะรวบรวมสุโขทัยให้กลับคืนดังเดิม แต่ก็ทรงทำไม่สำเร็จ นโยบายการปกครองที่ใช้ศาสนาเป็นหลักรวมความเป็นปึกแผ่นจึงเป็นนโยบายหลักในรัชสมัยนี้ - ทรงสร้างเจดีย์ที่นครชุม (เมืองกำแพงเพชร) สร้างพระพุทธชินราชที่พิษณุโลก - ทรงออกผนวช เมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๕ การที่ทรงออกผนวช นับว่าทำความมั่นคงให้พุทธศาสนามากขึ้น ดังกล่าวแล้วว่า หลังรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้ว บ้านเมืองแตกแยก วงการสงฆ์เองก็แตกแยก แต่ละสำนักแต่ละเมืองก็ปฏิบัติแตกต่างกันออกไป เมื่อผู้นำทรงมีศรัทธาแรงกล้าถึงขั้นออกบวช พสกนิกรทั้งหลายก็คล้อยตามหันมาเลื่อมใสตามแบบอย่างพระองค์ กิตติศัพท์ของพระพุทธศาสนาในสุโขทัยจึงเลื่องลือไปไกล พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่หลายรูปได้ออกไปเผยแพร่ธรรมในแคว้นต่างๆ เช่น อโยธยา หลวงพระบาง เมืองน่าน พระเจ้ากือนา แห่งล้านนาไทย ได้นิมนต์พระสมณะเถระไปจากสุโขทัย เพื่อเผยแพร่ธรรมในเมืองเชียงใหม่ พระมหาธรรมราชาที่ ๑ หรือพญาลิไท มีมเหสีชื่อพระนางศรีธรรม ทรงมีโอรสสืบพระราชบัลลังก์ต่อมา คือ พระ มหาธรรมราชาที่สอง ปีสวรรคตของกษัตริย์ พระองค์นี้ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่คงอยู่ในระยะเวลา ระหว่างปี พ.ศ. ๑๙๒๑-๑๙๒๗ เหตุการณ์ทางการเมืองที่ผันแปรของเมืองศรีสัชนาลัยหรือสวรรคโลก เริ่มในสมัยพระยาลิไท เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ทรงขยายอำนาจขึ้นมารทางเหนือและยึดเมืองพิษณุโลก เมืองพิษณุโลกถือว่าเป็นเมืองที่ขึ้นอยู่กับสุโขทัยอยู่แล้วในรัชสมัยพระยาลิไท เหตุการณ์เช่นนี้เริ่มส่อแสดงให้เห็นว่าสุโขทัยเริ่มมีปัญหากับกรุง ศรีอยุธยาแล้ว ถึงแม้ว่าต่อมาจะได้เมืองพิษณุโลกกลับคืนมา แต่ก็ด้วยเหตุผลที่พระยาลิไททรง ผนวช และบิณฑบาตขอคืนเมืองพิษณุโลก และได้ถวายบรรณาการให้กับกรุงศรีอยุธยาเป็นอันมากในสายตากรุงศรีอยุธยาก็คง เห็นถึงความไม่เข้มแข็งของสุโขทัยแล้ว และด้วยพระองค์ทรงผนวชและใฝ่ธรรมะนี้เอง พระนามของพระองค์ก็เปลี่ยนมาเป็นพระมหาธรรมราชา (ลิไท) ที่ ๑ ในปี พ.ศ. ๑๙๖๒ ได้เกิดจลาจลที่เมืองสุโขทัย เนื่องจากพระยาบาลกับพระยารามโอรสของพระมหาธรรมราชาที่ ๓ ได้แย่งชิงราชสมบัติกัน สมเด็จพระนครินทราชาธิราชเสด็จไประงับจลาจล ให้พระยาบาลครองเมืองพิษณุโลกและทรงสถาปนาเป็นพระมหาธรรมราชาที่ ๔ และให้พระยารามครองเมืองสุโขทัย เมืองศรีสัชนาลัยหรือสวรรคโลกในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีเหตุการณ์ศึกสงครามระหว่างล้านนากับกรุงศรีอยุธยา โดยมีเป้าหมายการแย่งชิงเมืองสวรรคโลก จึงมีการแต่งวรรณคดีเรื่องลิลิตยวนพ่าย เป็นการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถที่สามารถชนะพระเจ้าติโลกราช แห่งเชียงใหม่ หลังจากที่เมืองสวรรคโลกถูกเจ้าติโลกราบยึดครองอยู่ถึง ๑๔ ปี (พ.ศ. ๒๐๐๓ - ๒๐๑๗) มูลเหตุที่เกิดสงครามเนื่องจากเจ้านายราชวงศ์พระร่วงพระองค์หนึ่ง คือพระยายุธิษเฐียรไม่พอใจสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถที่มิให้ปกครองเมือง พิษณุโลก ซึ่งถือว่าเป็นศูนย์กลางในการปกครองของพระราชวงศ์พระร่วงที่จะได้ดูแลเมือง สุโขทัยศรีสัชนาลัย หรือสวรรคโลกด้วย

พ่อขุมหาราชนรามคำแหง

ประวัติพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นพระราชโอรส ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ปฐมกษัตริย์ แห่งกรุงสุโขทัย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ มีพระมเหสีคือ พระนางเสือง มีพระราชโอรสสามพระองค์ พระราชธิดาสองพระองค์ พระราชโอรส องค์ใหญ่สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังเยาว์ องค์กลางมี พระนามว่า บานเมือง และพระราชโอรสองค์ที่สาม คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อพระชันษาได้ ๑๙ ปี ได้ชนช้างชนะขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด พ่อขุนศรี อินทราทิตย์ จึงพระราชทานนามว่า "พระรามคำแหง" เมื่อสิ้นรัชสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ และพ่อขุนบานเมืองแล้ว พระองค์ได้ครองกรุงสุโขทัย ต่อมาเป็น พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๓ แห่งราชวงศ์พระร่วงสันนิษฐานว่าพระองค์ สิ้นพระชนม์ในราวปี พ.ศ.๑๘๖๐ รวมเวลาที่ทรงครองราชย์ประมาณ ๔๐ ปี
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงรวมเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงอัจฉริยภาพทั้งด้านการปกครอง เศรษฐกิจ ศาสนาและศิลปวิทยาต่างๆ ที่สำคัญยิ่งคือพระองค์ได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๘๒๖ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของอักษรไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
พระเจ้ารามคำแหงมหาราช เมื่อแรกตั้งอาณาจักรสุโขทัยนั้น อาณาเขตยังไม่กว้างขวางเท่าใดนัก เขตแดนทางทิศใต้จดเพียงเมืองปากน้ำโพ ใต้จากปากน้ำโพลงมายังคงเป็นอาณาเขตของขอมอันได้แก่เมืองละโว้ ทางฝ่ายตะวันตกจดเพียงเขาบันทัด ทางเหนือมีเขตแดนติดต่อกับประเทศลานนาที่ภูเขาเขื่อน ส่วนทางตะวันออกก็จดอยู่เพียงเขาบันทัดที่กั้นแม่น้ำสักกับแม่น้ำน่าน อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่ทรงครองราชย์อยู่นั้น พระเจ้าศรีอินทราทิตย์ก็ได้กระทำสงครามเพื่อขยายเขตแดนของไทยออกไปอีกในทางโอกาสที่เหมาะสม ดังที่มีข้อความปรากฏอยู่ในศิลาจารึกว่า พระองค์ได้เสด็จยกกองทัพไปดีเมืองฉอด ได้ทำการรบพุ่งตลุมบอนกันเป็นสามารถถึงขนาดที่พระเจ้าศรีอินทราทิตย์ ได้ทรงกระทำยุทธหัตถีกับขุนสามชนเข้าเมืองฉอด แต่พระองค์เสียทีแก่ขุนสามชน แลในครั้งนี้เองที่เจ้ารามราชโอรสองค์เล็กของพระองค์ได้เริ่มมีบทบาทสำคัญด้วยการที่ทรงถลันเข้าช่วยโดยไสช้างทรงเข้าแก้พระราชบิดาไว้ทันท่วงที แล้วยังได้รบพุ่งตีทัพขุนสามชนเข้าเมืองฉอดแตกพ่ายกระจายไป พระเจ้าศรีอินทราทิตย์ พระราชบิดาจึงถวายพระนามโอรสองค์เล็กนี้ว่า “เจ้ารามคำแหง” พระเจ้าศรีอินทราทิตย์ ทรงครองอาณาจักรสุโขทัยอยู่จนถึงประมาณปี 1881 จึงเสด็จสวรรคต พระองค์มีพระโอรสพระองค์ด้วยกัน โอรสองค์ใหญ่พระนามไม่ปรากฎเพราะได้สิ้นพระชนม์เสียตั้งแต่เยาว์วัย องค์กลางทรงพระนามว่า “ขุนบาลเมือง” องค์เล็กทรงพระนามว่า “เจ้าราม” และต่อมาได้รับพระราชทานใหม่ว่า “เจ้ารามคำแหง” หลังจากตีทัพขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดแตกพ่ายไป เมื่อพระเจ้าศรีอินทราทิตย์เสด็จสวรรคตแล้วโอรสองค์กลางขุนบาลเมือง ได้ขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อมาอีกประมาณ 9 ปี ก็เสด็จสวรรคต พระราชอนุชา คือ เจ้ารามคำแหง จึงได้เสวยราชย์สืบต่อมา ทรงพระนามว่า พระเจ้ารามคำแหง พระเจ้ารามคำแหง จะมีพระนามเดิมว่าอย่างไรไม่ปรากฏชัดแต่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ ได้ทรงสันนิษฐานว่า คงจะเรียกกันว่า “เจ้าราม” แลเมื่อเจ้ารามมีพระชนมายุได้ 19 ชรรษา ได้ตามสมเด็จพระราชบิดาไปทำศึกกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดและได้ทรงแสดงความเก่งกล้าในทาสไสช้างทรงเข้าแก้เอาพระราชบิดาไว้ได้ทั้งตีทัพขุนสามชนแตกพ่ายไปแล้วพระราชบิดาจึงถวายพระนามเสียใหม่ว่า “เจ้ารามคำแหง” พระเจ้ารามคำแหง ทรงเป็นมหาราชองค์ที่สองของชาวไทย และทรงเป็นมหาราชพระองค์เดียวในสมัยสุโขทัย พระองค์ทรงเป็นอัจฉริยกษัตริย์ทรงชำนาญทั้งในด้านการรบ การปกครอง และการศาสนา พระองค์ทรงขยายอาณาจักรสุโขทัยออกไปได้กว้างใหญ่ไพศาลด้วยวิเทโศบายอันแยบยลสุขุมคัมภีรภาพทั้งทรงปกครองไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินด้วยความยุติธรรมได้รับความร่มเย็นเป็นสุขกันทั่วหน้า ซึ่งข้าพเจ้าจะได้กล่าวถึงพระราชกรณียกิจของพระองค์เป็นอันดับไปดังต่อไปนี้
การขยายอาณาจักร
เมื่อพระเจ้ารามคำแหง เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติสืบต่อจากพ่อขุนบาลเมืองนั้น อาณาจักรสุโขทัยนับว่าตกอยู่ในระหว่างอันตรายรอบด้าน และยากทำการขยายอาณาจักรออกไปได้ เพราะทางเหนือก็ติดต่อกับแคว้นลานนา อันเป็นเชื้อสายไทยด้วยกันมีพระยาเม็งรายเป็นเจ้าเมืองเงินยางและพระยางำเมือง เป็นเจ้าเมืองพะเยาและทั้งพระยาเม็งรายและพระยางำเมือง ขณะนั้นต่างก็มีกำลังอำนาจแข็งแกร่งทั้งคู่ ทางตะวันออกนั้นเล่าก็ติดต่อกับดินแดนของขอม ซึ่งมีชาวไทยเข้าไปตั้งภูมิลำเนาอยู่มาก ตะวันตกของอาณาจักรสุโขทัยก็จดเขตแดนมอญและพม่า ส่วนทางใต้ก็ถูกเมืองละโว้ของขอมกระหนาบอยู่ ด้วยเหตุนี้พระเจ้ารามคำแหงจึงต้องดำเนินวิเทโศบายในการแผ่อาณาจักรอย่างแยบยล และสุขุมที่สุดเพื่อหลีกเลี่ยงการฆ่าฟันระหว่างคนไทยด้วยกันเอง คือแทนที่จะขยายอาณาเขตไปทางเหนือ หรือตะวันออกซึ่งมีคนตั้งหลักแหล่งอยู่มาก พระองค์กลับทรงตัดสินพระทัยขยายอาณาเขตลงไปทางใต้อันเป็นดินแดนของขอม และทางทิศตะวันตกอันเป็นดินแดนของมอญ เพื่อให้คนไทยในแคว้นลานนาได้ประจักษ์ในบุญญาธิการ และได้เห็นความแข็งแกร่งของกองทัพไทยแห่งอาณาจักรสุโขทัยเสียก่อน แล้วไทยในแคว้นลานนาก็อาจจะมารวมเข้าด้วยต่อภายหลังได้โดยไม่ยาก แต่แม้จะได้ตกลงพระทัย ดังนั้น พระเจ้ารามคำแหงก็ยังคงทรงวิตกอยู่ในข้อที่ว่าถ้าแม้ว่าพระองค์กรีฑาทัพขยายอาณาเขตลงไปสู้รบกับพวกขอมทางใต้แล้วพระองค์อาจจะถูกศัตรูรุกรานลงมาจากทางเหนือก็ได้ บังเอิญในปี พ.ศ. 1829 กษัตริย์ในราชวงศ์หงวนได้ส่งฑูตเข้ามาขอทำไมตรีกับไทย พระองค์จึงยอมรับเป็นไมตรีกับจีน เพื่อป้องกันมิให้กองทัพจีนยกมารุกรานเมื่อพระองค์ยกทัพไปรบเขมร พร้อมกันนั้นก็ได้ทรงพยายามสร้างความสนิทสนมกับไทยลานนาเช่นได้เสด็จด้วยพระองค์เองไปช่วยพระยาเม็งราย สร้างราชธานีที่นครเชียงใหม่เป็นต้น แหละเมื่อเห็นว่าสัมพันธไมตรีทางเหนือมั่นคงแล้ว พระองค์จึงได้เริ่มขยายอาณาจักรสุโขทัยลงไปทางใต้ตามลำดับ คือ ใน พ.ศ. 1823 ทรงตีได้เมืองนครศรีธรรมราช และเมืองต่างๆ ในแหลมลายูตลอดรวมไปถึงเมืองยะโฮร์ และเกาะสิงคโปร์ในปัจจุบันนี้ ใน พ.ศ. 1842 ตีได้ประเทศเขมร (กัมพูชา) ส่วนทางทิศตะวันตกที่มีอาณาเขตจดเมืองมอญนั้นเล่าพระเจ้ารามคำแหงก็ได้ดำเนินการอย่างสุขุมรอบคอบเช่นเมื่อได้เกิดความขึ้นว่า มะกะโท อำมาตย์เชื้อสายมอญ ซึ่งมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดและได้มารับราชการใกล้ชิดพระองค์ได้กระทำความผิดชั้นอุกฤติโทษ โดยลักพาเอาพระธิดาของพระองค์หนีกลับไปเมืองมอญ แทนที่พระองค์จะยกทัพตามไปชิงเอาตัวพระราชธิดาคืนมา พระองค์กลับทรงเฉยเสียด้วยได้ทรงคาดการณ์ไกล ทรงมั่นพระทัยว่า มะกะโท ผู้นี้คงจะคิดไปหาโอกาสตั้งตัวเป็นใหญ่ในเมืองมอญ ซึ่งถ้าเมื่อมะกะโทได้เป็นใหญ่ในเมืองมอญก็เปรียบเสมือนพระองค์ได้มอญมาไว้ในอุ้มพระหัตถ์ โดยไม่ต้องรบราฆ่าฟันกันให้เสียเลือดเนื้อ ซึ่งต่อมาการณ์ก็ได้เป็นไปตามที่ได้ทรงคาดหมายไว้ คือมะกะโท ได้เป็นใหญ่ครอบครองอาณาจักรมอญทั้งหมด แลได้เข้าสามิภักดิ์ต่ออาณาจักรสุโขทัย โดยพระเจ้ารามคำแหงมิต้องทำการรบพุ่งประการใดพระองค์ได้เสด็จไปทำพิธีราชภิเษกให้มะกะโท และพระราชทานนามให้ใหม่ว่า “พระเจ้าฟ้ารั่ว” ด้วยวิเทโศบายอันชาญฉลาด สุขุมคัมภีรภาพของพระองค์นี้เอง จึงเป็นผลให้อาณาจักรไทยในสมัยพระเจ้ารามคำแหงแผ่ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง ปรากฎตามหลักศิลาจารึกว่าทางทิศใต้จดแหลมมลายูทิศตะวันตกได้หัวเมืองมอญทั้งหมด ได้จดเขตแดนหงสาวดี จดอ่าวเบงคอล ทิศตะวันออกเฉียงใต้ประเทศเขมร มีเขตตั้งแต่สันขวานโบราณไปจดทะเลจีน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือได้เมืองน่าน เมืองหลวงพระบางทั้งเวียงคำฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ทิศเหนือมีอาณาเขตจดเมืองลำปาง กล่าวได้ว่าเป็นครั้งตั้งแต่ตั้งอาณาจักรไทยที่ได้แผ่นขยายอาณาเขตไปได้กว้างขวางถึงเพียงนั้น
การทำนุบำรุงบ้านเมือง
เมื่อได้ทรงขยายอาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยออกไปอย่างกว้างขวางดังกล่าวแล้วพระเจ้ารามคำแหง ยังได้ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองอีกเป็นอันมาก เช่นได้ทรงสนับสนุนในทางการค้าพานิช เลิกด่านเก็บภาษีอากรและจังกอบ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้คนไปมาค้าขายกันได้โดยสะดวกได้ยิ่งขึ้น ได้ส่งเสริมการทำอุตสาหกรรมทำเครื่องถ้วยชาม ถึงกับได้เสด็จไปดูการทำถ้วยชามในประเทศจีนถึงสองครั้ง แล้วนำเอาช่างปั่นถ้วยชามชาวจีนเข้ามาด้วยเป็นอันมาก เพื่อจะได้ให้ฝึกสอนคนไทยให้รู้จักวิธีทำถ้วยชามเครื่องเคลือบดินเผาต่างๆ ซึ่งปรากฏว่าได้เจริญรุ่งเรืองมากในระยะนั้น ในด้านทางศาลก็ให้ความยุติธรรมแก่อาณาประชาราษฎรโดยทั่วถึงกันไม่เลือกหน้าทรงเอาพระทัยใส่ในทุกข์สุขของอาณาประชาราษฎร์ถึงกับสั่งให้เจ้าพนักงานแขวนกระดิ่งขนาดใหญ่ไว้ที่ประตูพระราชวังด้านหน้าแม้ใครมีทุกข์ร้อนประการใดจะขอให้ทรงระงับดับเข็ญแล้วก็ให้ลั่นกระดิ่งร้องทุกข์ได้ทุกเวลา ในขณะพิจารณาสอบสวนและตัดสินคดี พระองค์ก็เสด็จออกฟังและตัดสินด้วยพระองค์เองไปตามความยุติธรรม แสดงความเมตตาแก่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินเสมือนบิดากับบุตรทรงชักนำให้ศาสนาประกอบการบุญกุศล ศรัทธาในพระพุทธศาสนา พระองค์เองทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกได้ทรงสร้างแท่นมนังศศิลาไว้ที่ดงตาล สำหรับให้พระสงฆ์แสดงธรรมและบางครั้งก็ใช้เป็นที่ประทับว่าราชการแผ่นดิน
การปกครอง
ลักษณะการปกครองในสมัยของพระเจ้ารามคำแหงหรือราษฎรมักเรียกกันติดปากว่าพ่อขุนรามคำแหงนั้น พระองค์ได้ทรงถือเสมือนหนึ่งว่าพระองค์เป็นบิดาของราษฎรทั้งหลาย ทรงให้คำแนะนำสั่งสอน ใกล้ชิดเช่นเดียวกับบิดาจะพึงมีต่อบุตร โปรดการสมาคมกับไพร่บ้านพลเมืองไม่เลือกชั้นวรรณะ ถ้าแม้ว่าใครจะถวายทูลร้องทุกข์ประการใดแล้ว ก็อนุญาตให้เข้าเฝ้าใกล้ชิดได้ไม่เลือกหน้าในทุกวันพระมักเสด็จ ออกประทับยังพระแท่นศิลาอาสน์ ทำการสั่งสอนประชาชนให้ตั้งอยู่ในศีลธรรม ในด้านการปกครองเพื่อความปลอดภัยและมั่นคงของประเทศนั้นพระองค์ทรงถือว่าชายฉกรรจ์ที่มีอาการครบ 32 ทุกคนเป็นทหารของประเทศ พระเจ้าแผ่นดินทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพ ข้าราชการก็มีตำแหน่งลดหลั่นเป็นนายพล นายร้อย นายสิบ ถัดลงมาตามลำดับ ในด้านการปกครองภายใน จัดเป็นส่วนภูมิภาคแบ่งเป็นหัวเมืองชั้นใน ชั้นนอกและเมืองประเทศราชสำหรับหัวเมืองชั้นใน มีพระเจ้าแผ่นดินเป็นผู้ปกครองโดยตรง มีเมืองสุโขทัยเป็นราชธานี เมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก) เป็นเมืองอุปราช มีเมืองทุ่งยั้งบางยม สองแคว (พิษณุโลก) เมืองสระหลวง (พิจิตร) เมืองพระบาง (นครสวรรค์) และเมืองตากเป็นเมืองรายรอบ สำหรับหัวเมืองชั้นนอกนั้น เรียกว่าเมืองพระยามหานคร ให้ขุนนางผู้ใหญ่ที่ไว้วางพระราชหฤทัยไปปกครองมีเมืองใหญ่บ้างเล็กบ้าง เวลามีศึกสงครามก็ให้เกณฑ์พลในหัวเมืองขึ้นของตนไปช่วยทำการรบป้องกันเมือง หัวเมืองชั้นนอกในสมัยนั้น ได้แก่ เมืองสรรคบุรี อู่ทอง ราชบุรี เพชรบุรี ตะนาวศรี เพชรบูรณ์ แลเมืองศรีเทพ ส่วนเมืองประเทศราชนั้น เป็นเมืองที่อยู่ชายพระราชอาณาเขตมักมีคนต่างด้าวชาวเมืองเดิมปะปนอยู่มาก จึงได้ตั้งให้เจ้านายของเขานั้นจัดการปกครองกันเอง แต่ต้องถวายดอกไม้เงินดอกไม้ทองทุกปี แลเมื่อเกิดศึกสงครามจะต้องถล่มทหารมาช่วย เมืองประเทศราชเหล่านี้ ได้แก่ เมืองนครศรีธรรมราช มะละกา ยะโฮร์ ทะวาย เมาะตะมะ หงสาวดี น่าน หลวงพระบาง เวียงจันทร์ และเวียงคำ
การวรรณคดี
นอกจากจะได้ทรงขยายอาณาเขตของไทย ทางปกครองทำนุบำรุงบ้านเมือง และจัดระบบการปกครองที่เป็นระเบียบเรียบร้อยดังกล่าวแล้ว พระเจ้ารามคำแหงยังได้ทรงสร้างสิ่งที่คนไทยจะลืมเสียมิได้อีกอย่างหนึ่ง สิ่งนั้น ได้แก่ การประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นอันเป็นรากฐานของหนังสือไทยที่เราได้ใช้กันอยู่ในทุกวันนี้ ตามหลักฐานปรากฎว่าพระองค์ได้ทรงคิดอักษรไทยขึ้นใช้เมื่อปี พ.ศ. 1826 กล่าวกันว่าได้ดัดแปลงมาจากอักษรคฤนถ์อันเป็นอักษรที่ใช้กันอยู่ในอินเดียฝ่ายใต้ ตัวอักษรไทยซึ่งพระเจ้ารามคำแหงคิดขึ้นใช้ในสมัยนั้นตัวพยัญชนะ สระและวรรณยุกต์จึงอยู่เรียงในบรรทัดเดียวกันหมด ดังจะดูได้จากแผ่นศิลาจารึกในสมัยพระเจ้ารามคำแหง ซึ่งประดิษฐานอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ต่อมาจึงได้มีผู้ค่อยคิดดัดแปลงให้วัฒนาในทางดี และสะดวกในการเขียนมากขึ้น เป็นลำดับ จนกระทั่งถึงอักษรไทยที่เราได้ใช้กันอยู่ในทุกวันนี้
การศาสนา
ในสมัยพระเจ้ารามคำแหงนั้น ปรากฎว่าศาสนาพุทธได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมากเพราะพระองค์ทรงเลื่อมใสศรัทธาอย่างมาก เช่นเมื่อมีคนไทยเดินทางไปยังเกาะลังกา เพื่อบวชเรียนตามลัทธิลังกาวงศ์ คือถือคติอย่างหินยาน มีพระไตรปิฎกเป็นภาษามคธ แล้วเข้ามาตั้งเผยแพร่พระพุทธศาสนาอยู่ที่เมืองนครธรรมราชนั้น พระเจ้ารามคำแหงยังได้เสร็จไปพบด้วยพระองค์เองแล้วนิมนต์พระภิกษุนั้นขึ้นมาตั้งให้เป็นสังฆราชกรุงสุโขทัย และได้บวชในคนไทยที่เลื่อมใสศรัทธาต่อมาตามลำดับ ต่อมาพระเจ้ารามคำแหงได้ทำไมตรีกับลังกาและได้พระพุทธสิหิงค์มาจากลังกา แลนับแต่นั้นมาคนไทยจึงได้นับถือลัทธิลังกาวงศ์สืบมา

ศิลาจารึก
ในสมัยพระเจ้ารามคำแหง ได้มีการจัดทำศิลาจารึกขึ้นเป็นครั้งแรกแลนับว่าก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทางประวัติศาสตร์เป็นอย่างมาก เพราะถ้าพระองค์มิได้ทรงคิดอักษรไทยและทำศิลาจารึกไว้แล้ว คนไทยรุ่นต่อมาก็จะค้นคว้าหาหลักฐานในทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ได้ยากยิ่ง
หลักศิลาจารึก พ่อขุนรามคำแหง
เพื่อให้ท่านผู้อ่าน ได้ทราบถึงความเป็นมาในการค้นพบหลักศิลาจารึกในสมัยพระเจ้ารามคำแหงมหาราช ข้าพเจ้าจึงขอคัดข้อความจากประชุมจารึกสยาม ภาคที่ 1 จารึกสุโขทัยซึ่งศาสตราจารย์ ยอช เซเดส์ เป็นผู้ชำระและแปลมาเสนอไว้ดังต่อไปนี้ เมื่อปีมะเส็ง เบญจศก ศักราช 1995 (พ.ศ.2376) เสด็จไปประพาสเมืองเหนือนมัสการเจดีย์ สถานต่างๆ ไปโดยลำดับประทับเมืองสุโขทัย เสด็จไปเที่ยวประพาสพบแผ่นศิลา(พระแท่นมนังคศิลา) แผ่นหนึ่ง เขาก่อไว้ริมเนินปราสาทเก่าหักพังอยู่เป็นที่นับถือกลังเกรงของหมู่มหาชน ถ้าบุคคลไม่เคารพเดินกรายเข้าไปใกล้ให้เกิดการจับไข้ไม่สบาย ทอดพระเนตรเห็นแล้วเสด็จตรงเข้าไปประทับแผ่น ณ ศิลานั้น ก็มิได้มีอันตราสิ่งหนึ่งสิ่งใดด้วยอำนาจพระบารมี เมื่อเสด็จกลับวันสั่งให้ทำการชะลอลงมาก่อเป็นแท่นไว้ที่วัดราชาธิวาส ครั้งภายหลังเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติแล้ว (รัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ดำรัสสั่งให้นำไปไว้ในวัดพระศรีรัตนศาสนาราม อนึ่งทรงได้เสาศิลาจารึกอักษรเขมรเสาหนึ่ง จารึกอักษรไทยโบราณเสาหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามนั้น ที่นี่พบศิลาจารึกหลักนี้ไม่ปรากฎแน่ชัด แต่คิดว่าจารึกนี้คงจะใกล้ๆ กับพระแท่นมนังคศิลา เพราในจารึกหลักนี้ด้านที่สามมีกล่าวถึงพระแท่นมนังคศิลา ซึ่งทำให้คิดว่า ศิลาจารึกหลักนี้จะได้ในเวลาฉลองพระแท่นนั้น เพราะฉะนั้นศิลาจารึกหลักนี้คงจะอยู่ใกล้ๆ กับพระแท่นนั้น คือ บนเนินปราสาทนั้นเอง พระแท่นนั้น เมื่อชะลอลงมากรุงเทพฯ แล้ว เดิมเอาไว้ที่วัดราชาธิวาส ก่อทำเป็นแท่นที่ประทับไว้ตรงใต้ต้นมะขามใหญ่ ข้างหน้าพระอุโบสถ ภายหลังเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสวยราชย์เมื่อปี พ.ศ. 2394 ได้โปรดให้เอามาก่อแทนประดิษฐานไว้ที่หน้าวิหารพระคันธาราฐในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม อยู่มาจนถึงในรัชกาลปัจจุบันนี้ เมื่องานพระราชพิธีบรมราชาภิเศกสมโภชใน พ.ศ. 2545 จึงโปรดให้ย้ายไปทำเป็นแท่นเศวตฉัตรราชบัลลังก์ ประดิษฐานไว้ในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทปรากฎอยู่ในทุกวันนี้ ส่วนศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงนั้น ครั้นพระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาประทับอยู่ ณ วัดบวรนิเวศ โปรดให้ส่งหลักศิลานั้นมาด้วย ภายหลังเมื่อได้เสวยราชย์ พระเจ้าเกล้าอยู่หัวโปรดฯ ให้ย้ายจากวัดบวรนิเวศ เอาเข้าไปตั้งไว้ศาลารายในวัดพระศรีรัตนศาสดารามข้างด้านเหนือ พระอุโบสถหลังที่สองนับแต่ทางตะวันตก อยู่ ณ ที่นี้ต่อมาช้านานจนปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2466 จึงได้ย้ายเอามารวมไว้ที่หอพระสมุด เรื่องหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ที่นักปราชญ์ชาวยุโรปแต่งไว้ในหนังสือต่างๆ นั้น มีอยู่ในบัญชีท้ายคำนำภาษาฝรั่งแล้ว ส่วนนักปราชญ์ไทยแต่ขึ้นนั้นได้เคยพิมพ์ในหนังสือวชิรญาณเล่มที่ 6 หน้า 3574 ถึง 2577 ในหนังสือเรื่องเมืองสุโขทัย ในหนังสือพระราชนิพนธ์เรื่องเที่ยวเมืองพระร่วง และในประชุมพงศาวดารภาคที่หนึ่ง เรื่องที่มีในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงนี้ แบ่งออกได้เป็นสามตอน ตอนที่ 1 ตั้งแต่บรรทัดที่ 1 ถึง 18 เป็นเรื่องพ่อขุนรามคำแหงเล่าประวัติของพระองค์ตั้งแต่ประสูติจนได้เสวยราชสมบัติ ใช้คำว่า “กู” เป็นพื้น ตอนที่ 2 ไม่ใช่คำว่า “กู” เลย ใช้ว่า “พ่อขุนรามคำแหง” เล่าเรื่องประพฤติเหตุต่างๆ และธรรมเนียมในเมืองสุโขทัย เรื่องสร้างพระแท่นมนังคศิลา เมื่อ 1214 เมื่อสร้างพระมหาธาตุ เมืองศรีสัชนาไลย เมื่อ ม.ศ. 1207 และที่สุดเรื่องประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้นเมื่อ พ.ศ.1205 ตอนที่ 3 ตั้งแต่ด้านที่ 4 บรรทัดสุดท้าย เข้าใจว่าจารึกภายหลังปลายปี เพราะตัวอักษรไม่เหมือนกับตอนที่ 1 และที่ 2 คือ ตัวพยัญชนะสั้นกว่าที่สระที่ใช้ก็ต่างกันบ้าง ตอนนี้ (ที่ 3 ) เป็นคำสรรเสริญและขอพระเกียรติคุณพ่อขุนรามคำแหง และกล่าวถึงอาณาเขตเมืองสุโขทัยที่แผ่ออกไปในครั้งกระโน้น ผู้แต่ศิลาจารึกนี้ เพื่อจะเป็นพ่อขุนรามคำแหงทรงเล่าเอง มิฉะนั้นก็คงตรัสสั่งให้แต่งและจารึกไว้ มูลเหตุที่จารึกไว้คือเมื่อ ม.ศ. 1214 (พ.ศ.1835) ได้สะกัดกระดานหินพระแท่นมนังคศิลา ประโยชน์ของพระแท่นมนังคศิลาก็คือ ในวันพระอุโบสถพระสงฆ์ได้ใช้นั่งสวดพระปาติโมกข์และแสดงธรรมถ้าไม่ใช้วัดอุโบสถพ่อขุนรามคำแหงก็ได้ประทับนั่งพระราชทานราโชวาทแก่ข้าราชบริพาร และประชาราษฎรทั้งปวงที่มาเฝ้า และเมื่อปี ม.ศ.1214 (พ.ศ.1835) นับเป็นปีที่สำคัญมากในรัชกาลของพ่อขุนรามคำแหง เพราะเป็นปีแรกที่ได้แต่งตั้งราชฑูตไปเมืองจีน ศิลาจารึกกรุงสุโขทัยที่มีอยู่ในหอสมุดนี้ เริ่มรวบรวมแต่ในรัชกาลที่ 3 มีจดหมายเหตุปรากฎว่า เมื่อ พ.ศ. 2176 พระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงผนวชมาตั้งแต่รัชกาลที่ 2 ประทับอยู่ ณ วัดราชาธิราชเสด็จขึ้นไปธุดงค์ทางมณฑลฝ่ายเหนือถึงเมือพิษณุโลก สวรรคโลก และเมืองสุโขทัย เมื่อเสด็จไปถึงเมืองสุโขทัยครั้งนั้นทอดพระเนตรเห็นศิลาจารึก 2 หลักคือ ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง (หลักที่ 1 ) และศิลาจารึกภาษาเขมรของพระมหาธรรมราชาลิไทย (หลักที่ 4) กับแท่นมนังศิลาอยู่ที่เนินปราสาท ณ พระราชวังกรุงสุโขทัยเก่า ราษฎร เช่นสรวงบูชานับถือกันว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวดำรัสถามว่าของทั้งสามสิ่งนั้นเดิมอยู่ที่ไหน ใครเป็นผู้เอามารวบรวมไว้ตรงนั้น ก็หาได้ความไม่ ชาวสุโขทัยทราบทูลว่าแต่ว่าเห็นรวบรวมอยู่ตรงนั้นมาตั้งแต่ครั้งปู่ย่าตายายแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพิจารณาดูเห็นว่าเป็นของสำคัญจะทิ้งไว้เป็นอันตรายเสีย จึงโปรดเกล้าฯ ให้ส่งมากรุงเทพฯเดิมเอาไว้ที่วัดราชาธิวาส ทั้งสามสิ่ง พระแท่นมนังคศิลานั้นก่อทำเป็นแท่นที่ประทับไว้ตรงใต้ต้นมะขามใหญ่ ข้างหน้าพระอุโบสถ ครั้นเสด็จมาประทับ ณ วัดบวรนิเวศ โปรดฯ ให้ส่งหลักศิลาทั้งสองนั้นมาด้วย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพยายามอ่านหลักศิลาของพ่อขุนรามคำแหงเอง แล้วโปรดฯ ให้สมเด็จพระมหาสมณะเจ้าพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ พร้อมด้วยล่ามเขมรอ่านแปลหลักศิลาของพระธรรมราชาลิไทย ได้ความทราบเรื่องทั้งสองหลัก ครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ เสวยราชย์ เมื่อ พ.ศ. 2394 ต่อมาจึงโปรด ฯ ให้ย้ายพระแท่นมนังคศิลามาก่อแท่นประดิษฐานไว้หน้าวิหารพระคันธารราฐในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม... “ในรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2450 พระยาโบราณราชธานินทร (พร เดชะคุปต์) ได้พบศิลาจารึก (หลักที่ 5 ) ที่วัดใหม่ (ปราสาททอง) อำเภอนครหลวงแขวงจังหวัดอยุธยาหลักหนึ่ง แต่มีรอยถูกลบมีจนตัวอักษรลบเลือนโดยมาก แต่ยังมีเหลือพอทราบได้ว่าเป็นจารึกกรุงสุโขทัย สืบถามว่าใครได้มาแต่เมื่อใดก็หาได้ความไม่ พระยาโบราณฯ จึงได้ย้ายมารักษาไว้ในอยุธยาพิพิธภัณฑ์สถาน กรมพระยาดำรงราชนุภาพเสด็จขึ้นไปทอดพระเนตร ทรงพยายามอ่านหนังสือที่ยังเหลืออยู่ ได้ความว่าเป็นศิลาจารึก ของพระธรรมราชาลิไทย คู่กับหลักภาษาเขมรซึ่งอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม คือ จารึกความอย่างเดียวกัน เป็นภาษาเขมรหนึ่งหลัก ภาษาไทยหนึ่งหลัก เดิมคงตั้งคู่กันไว้ จึงรับสั่งให้ส่งหลักศิลาจารึกนั้นลงไปไว้ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามด้วยกันกับหลักภาษาเขมร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้มาจากเมืองสุโขทัยศิลาจารึก ทั้ง 3 หลักนั้นอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนย้ายมายังหอพระสมุด เมื่อ พ.ศ. 2467
อ้างอิง: ชนม์สวัสดิ์ ชมพูนุช.2514.พระราชประวัติ 9 มหาราช.กรุงเทพฯ: พิทยาคาร

พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททองหล่อพระบรมรูป ณ มณฑลพิธี กองหัตถศิลป กรมศิลปากร วันจันทร์ที่ ๗ ธันวาคม ปีพระพุทธศักราช ๒๕๑๓ เวลา ๑๖.๓๐ นาฬิกา
เมื่อกรมศิลปากรได้ปั้นหล่อพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และภาพจำหลักนูนแสดงเหตุการณ์เรียบร้อยแล้ว จังหวัดสุโขทัยได้ประกอบพิธีอัญเชิญพระบรมรูปจากกองหัตถศิลป กรมศิลปากร ไปยังปะรำประดิษฐานพระบรมรูปชั่วคราว เนินปราสาท เมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน ปีพระพุทธศักราช ๒๕๑๘ และได้ประกอบพิธีอัญเชิญพระบรมรูปจากเนินปราสาท ไปประดิษฐานยังแท่นฐานปัจจุบัน เมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน ปีพระพุทธศักราช ๒๕๑๙
ด้วยพระเกียรติคุณ พระราชกรณียกิจที่ทรงสร้างไว้แก่ประเทศชาตินานัปการ มุ่งประโยชน์สุขของราษฎรเป็นสำคัญ การรวมประเทศ การแผ่ขยายอาณาเขต การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และการประดิษฐ์คิดค้นอักษรไทย อันเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของชาติ ประชาชนชาวไทยจึงร่วมใจกันสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์ ประดิษฐานไว้ ณ เมืองกรุงเก่าสุโขทัย เพื่อเป็นที่เคารพสักการะ และเป็นการเฉลิมพระเกียรติคุณให้ยั่งยืนสืบไปชั่วกาลนาน
คำจารึกพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ณ จังหวัดสุโขทัย

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระโอรสในพ่อขุนศรีอินทราทิตย์และพระนางเสือง ทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด เมื่อพระชนมมายุ ๑๙ ชรรษา เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่สามแห่งกรุงสุโขทัย เมื่อพุทธศักราช ๑๘๒๒ ทรงประดิษฐ์อักษรไทย เมื่อพุทธศักราช ๑๘๒๖ โปรดเกล้าฯ ให้สลักศิลาจารึกลงเหตุการณ์ เมื่อพุทธศักราช ๑๘๓๕ ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ชองชาติสืบมา ทรงกระทำสัมพันธไมตรีกับประเทศเพื่อนบ้าน พระราชทานพระราชกำหนดกฎหมายและทรงบำรุงการพระศาสนาให้รุ่งเรือง บ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุขตลอดรัชสมัยของพระองค์ สวรรคตเมื่อพุทธศักราช ๑๘๔๒ ประชาชนชาวไทยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงพร้อมใจกันสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์นี้ไว้เพื่อประกาศเกียรติคุณชั่วนิรันดร์

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (ขุนบางกลางหาว)

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เดิมคือ ขุนบางกลางหาว (ชื่อ “ร่อง” ในสิหิงคนิทานว่า รณรงโค แปลว่า พระร่วง
นักรบ) เจ้าเมืองบางยาง (เมืองนครไทย) ได้ร่วมกับขุนผาเมอง (เจ้าเมืองราด) ทำการยึดอำนาจขอม และครองราชย์
ในปี พงศ.1762
เรื่องศักราชการยึดอำนาจจากขอมและการขึ้นครองราชย์นั้น สรุปไม่ได้ มีบางแห่ง (ศจ.ดร.ประเสริฐ
ณ นคร) สรุปว่า ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.1762-1781 (19 ปี) บางแห่งว่าครองราชย์ราว พงศ.1792 บางแห่งว่า
พระองค์ทรงตั้งอาณาจักรสยามที่เมืองสุโขทัย ทำการขับไล่ขอมเมื่อ พ.ศ.1762 บางแห่งระบุว่า ปีครองราชย์ประมาณ 1800 ทำให้เกิดปัญหาเวลาการครองราชย์ของขุนบานเมืองต่อไป

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ มีมเหสีพระนามว่า “นางเสือง” เป็นพระธิดาของพ่อขุนศรีนาวนำถม) ทรงมีพระโอรสธิดารวม 5 องค์ เป็นโอรส 3 องค์ ธิดา 2 องค์ โอรสองค์ใหญ่ ไม่ปรากฏพระนามด้วยสิ้นพระชนม์เสียตั้งแต่ยังเยาว์วัย องค์ที่สองคือ บานเมือง หรือ ปาลราช องค์ทีสาม เดิมไม่มีพระนาม แต่พอไปชนช้างชนะขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด (เมืองตาก) มีความชอบจึงประทานชื่อ (หรือชื่อตามยศศักดิ์) ว่า พระรามคำแหง ในหนังสืออื่น เรียก รามราช ส่วนธิดาอีก 2 คน ไม่ปรากฏนาม
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์

การขึ้นครองเมืองสุโขทัย ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (ขุนบางกลางหาว) นั้น แม้สามารถขับไล่ขอมสบาดโจลญลำพงออกไปจากเขตเมืองใต้ ก็ยังทำให้พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ รู้สึกกังวลต่อฐานอำนาจเดิมที่พ่อขุนศรีนำถุมมี อยู่แต่เดิม (ไม่ค่อยจะมั่นคง) แม้ขุนผาเมืองจะไม่ครองเมืองสุโขทัยแทนพระบิดา หรือเห็นว่านางเสือง เป็นมเหสี

ของขุนบางกลางหาวอยู่แล้วก็ตาม พ่อขุนผาเมืองก็ยังระแวงว่ากำลังจากอาณาจักรขอมนั้น จะยกเข้ามาทำสงครามชิงเมืองคืน ขุนผาเมืองจึงกลับไปครองเมืองราด เพื่อให้มเหสีคือ นางสิขรมหาเทวี ซึ่งเป็นพระธิดากษัตริย์ขอมนั้น เป็นผู้เชื่อมไมตรีกับพระบิดา คือ พระเจ้าเจ้าสุริยวรมันที่ 7 ดังนั้นขุนผาเมืองจึงให้ขุนบางกลางหาวนั้นรับเอาพระนาม

“ศรีบดินทรอินทราทิตย์” (กมรเตงอัญศรีอินทราบดินทราทิตย์) และพระขรรค์ชัยศรีจากขุนผาเมืองมาใช้เป็นการป้องกันเมือง และสร้างความเป็นไมตรีต่ออาณาจักรขอมไว้ก่อน

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ขั้นครองราชย์ที่เมืองสุโขทัยได้ไม่นาน ประมาณ พ.ศ.1800-1802 ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด ก็แสดงท่าทีจะชิงเมืองโดยยกทัพเข้าจะตีเมืองตาก กำลังของขุนสามชน เมืองฉอด ที่ยกทัพมาครั้งนี้ เข้าใจว่าน่าจะมีกำลังของขอมสบาดโขลญลำพงที่พ่ายหนีไปส่วนหนึ่งนั้นสมทบเข้ามาด้วย

ครั้งนั้นพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เห็นว่าหากปล่อยให้ขุนสามชนตีได้เมืองตากแล้ว ก็จะเป็นอันตรายกับเมืองสุโขทัย ดังนั้นพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จึงยกทัพออกจาเมืองสุโขทัยพร้อมกับโอรสคนเล็ก (นามว่า พระรามราช) ซึ่งมีอายุ 19 พรรษา และได้ติดตามบิดาออกสงครามด้วย

การสู้รบนั้น ได้มีการทำยุทธหัตถีกัน ระหว่างขุนศรีอินทราทิตย์กับขุนสามชน และ (พระรามราช) โอรสองค์นี้ได้เข้าชนช้าง ช่วยพระบิดาจนมีชัยชนะขุนสามชน ด้วย ความกล้าหาญของโอรสองค์นี้ จึงได้รับการเฉลิมพระนามว่า รามกำแหง หรือรามคำแหง
ระยะแรกนั้น เมืองสุโขทัยได้ทำการขยายอาณาเขตด้วยการทำสงครามกับเมืองต่าง ๆ ที่ไม่ยอมเป็นไมตรี

เนื่องจากเมืองสุโขทัยนั้นเปลี่ยนราชวงศ์ใหม่ไม่ใช่เชื้อสายราชวงศ์ของขุนศรีนาวนำถุม ผู้ครองเมืองเดิม ขณะนั้นบรรดาเมืองต่าง ๆ ส่วนใหญ่นิยมที่จะนับถือราชวงศ์ศรีนามนำถุมอยู่ จึงทำให้เมืองนั้นไม่ยอมอ่อนน้อมยอมขึ้นด้วย จนพ่อขุนต้องออกทำการปราบปรามเมืองต่าง ๆ ในที่สุด เมืองเหล่านั้นก็ยอมอ่อนน้อม

ในที่สุดเมืองสุโขทัยก็สามารถขยายเขตของอาณาจักรได้กว้างขวาง ทำให้เมืองสุโขทัยสามารถวางรากบานอาณาจักรมั่นคงและสามารถรวบรวมชนชาติไทยเป็นหนึ่งเดียวกันได้ โดยเฉพาะเชื้อพระวงศ์ของขุนศรีนาวนำถุมนั้นได้อยู่รับราชการกับพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ด้วยคือ พระยาคำแหง พระราม เป็นพระอนุชาและขุนผาเมือง ซึ่งมีพระโอรสคือ ขุนศรีสัทธาภายหลังได้ออกบวชในพุทธศาสนาลังกาวงศ์ และได้เป็นสังฆราชเมืองสุโขทัย

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ สวรรคตปีใดนั้นไม่มีหลักฐาน บางแห่งว่าพ่อขุนศรีอินทราทิตย์สวรรค ราว
พ.ศ.1822 ขุนบานเมือง หรือพญาปาลราช โอรสองค์ที่สองได้ครองเมืองสุโขทัยต่อมา

พ่อขุนบานเมือง (ขุนปาลราช)ล

พ่อขุนบานเมือง หรือขุนปาลราช โอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (ขุนบางกลางหาว) บางแห่งระบุชื่อว่า ขุนบางกลางเมือง ขึ้นครองราชย์ปีใดไม่ปรากฏ สันนิษฐานว่า ขุนบานเมือง ครองเมืองสุโขทัยสืบต่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ที่สวรรคประมาณ พงศ.1822 แล้วครองเพียง 1 ปี จึงสวรรคต หากสันนาฐานว่า ขุนบานเมืองครองราชญ์ประมาณ พ.ศ.1781 ต่อจาก พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ครองราชย์ คือ พงศ.1762 – 1781 (19 ปี) ก็หมายว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์นั้น สวรรคตประมาณ พงศ.1781 ด้วย และทำให้ช่วงเวลาของรัชกาลนี้ มีระยะเวลานานถึง 41 ปี เป็นเวลานานพอที่จะทำการสร้างวัดหรือโบราณสถาน หรือมีเหตุการณ์สำคัญบ้างแต่รัชกาลนี้ไม่มีเหตุการณ์อะไรมากนั้น จึงเชื่อว่าขุนผู้นี้น่าจะครองเมืองสุโขทัยในระยะเวลาสั้น

ด้วยเหตุนี้ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จึงน่าจะครองเมืองสุโขทัยเป็นเวลานานประมาณ 19 – 22 ปี คือ
พ.ศ.1762 – 1781 ซึ่งน่าจะครองเมืองสุโขทัยวางรากฐานอาณาจักรและขยายอาณาเขตให้กว้างไกล เป็นระยะเวลาที่ยังมีการปราบปรามหัวเมืองต่าง ๆ บางแห่งอยู่บ้าง ดังนั้น หลังจาก พ.ศ. 1781 จนถึงปี ครองราชย์ของพ่อขุนบานเมือง คือ พ.ศ.1822 เป็นรวม 41 ปีนั้น อาณาจักรของเมืองสุโขทัยไม่ปรากฏว่า เป็นช่วงเวลาว่างกษัตริย์ หรือเป็นช่วงเวลาที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ครองราชย์ ตั้งแต่ พ.ศ.1800 – 1822 (22 ปี) มากกว่า เพราะดูจะสมกับระยะเวลาครองราชย์ และขุนบานเมืองนั้นครองราชย์ได้ 1 ปี ใน พงศ.1822

พ่อขุนรามคำแหง
พ่อขุนรามคำแหง โอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นพระอนุชาของขุนบานเมือง ได้ครองเมืองสุโขทัยสืบต่อจากพ่อขุนบานเมือง ขณะที่มีชนมายุได้ 38 พรรษา ประมาณก่อน พ.ศ.1820 บางแห่งว่าครองราชย์ พ.ศ.1822 – 1842

พ่อขุนผู้นี้ทรงนำบุบำรุงอาณาประชาราษฎร และปกครองไพร่ฟ้าประชาชนแบบ่พอปกครองลูก และโปรดให้แขวนกระดิ่งอันหนึ่งไว้ที่ประตูพระราชวัง เมื่อประชาชนเดือนร้อนก็สามารถมาสั่นกระดิ่งร้องทุกข์ต่อพ่อขุนรามคำแหงให้ออกมาตัดสินปัญหาได้

ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงทรงให้สร้าง พระแท่นมนังคศิลาบาตรด้วยขดารหินชนวนที่นำมาจากภูเขา ใกล้เมืองสุโขทัย โดยตั้งไว้กลางดงตาล เพื่อให้พระสงฆ์ นั่งเทศนาสั่งสอนธรรมแก่ไพร่ฟ้าประชาชนในวันพระ ปัจจุบันพระแท่นมนังคศิลาบาตรนี้ อยู่ในพิพิธภัณฑ์วัดพระสรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) กรุงเทพฯ
พงศ.1825 พ่อขุนรามคำแหงนั้น ได้ขยายอาณาเขตของอาณาจักรไปยังดินแดนใกล้เคียง โดยมีความสัมพันธ์กับเมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองกาว เมืองลาว ชุมชนคนไทยบริเวณแม่น้ำอูและแม่น้ำโขง

ในประวัติศาสตร์ กัมพูชาบันทึกว่า กองทัพสยามนั้นเข้ารุกรานกัมพูชา และจดหมายเหตุญวนก็บันทึกว่า
กองทัพสยามไปรุกรานจามปา สรุปแล้ว ในรัชกาลนี้อาณาจักรของชาวสยาม มีอาณาเขตกว้างขวางไปยังดินแดนกัมพูชาและอาณาจักรจามปา ด้วย

แต่พ่อขุนรามคำแหงนั้น จะไม่ขยายอาณาเขตไปทางดินแดนเหนือ เนื่องจากขุนผู้นี้ทรงมีพระสหายสนิทซึ่งเป็นผู้นำของชาวสยามเช่นกัน กล่าวคือ พ่อขุนเม็งราย (พระยายาเม็งราย) ผู้ครองเมืองเชียงราย และพ่อขุนงำเมือง

(พระยางำเมือง) ผู้ครองเมืองพะเยา (เมืองภูกามยาว) ขุนผู้นี้เป็นโอรสของขุนมิ่งเมือง เมืองประสูติ พ.ศ.1781 สืบเชื้อสายจากเจ้าขอมผาเรือง เมื่ออายุได้ 14 พรรษา ได้ศึกษาอยู่กับสำนักสุกทันตฤษีที่เมืองละโว้ ร่วมอาจารย์กับพ่อขุนรามคำแหง กลับครองเมืองจนถึง พ.ศ.1801 ซึ่งทั้งสามพ่อขุนนี้ได้มีสัมพันธ์ไมตรีต่อกันเป็นอย่างดี

อาณาจักรของเมืองสุโขทัยนั้น ยังมีความสัมพันธ์กับเมืองต่าง ๆ ทางตอนใต้ด้วยคือ อาณาจักรสุวรรณภูมิ(เมืองสุพรรณบุรี) อาณาจักรตามพรลิงค์ (เมืองนครศรีธรรมราช) ส่วนด้านตะวันตกนั้นมีความสัมพันธ์กับเมืองฉอดและเมืองหงสาวดี

พ.ศ.1825 พ่อขุนรามคำแหงได้มีสัมพันธ์ไมตรีกับชาติจีน ในจดหมายเหตุจีนบันทึกไว้ว่า กุบไลข่าน หรือพระเจ้าหงวนสีโจ๊วฮ่องเต้ ได้ส่งคณะทูตเดินทางมาแคว้นสุโขทัย แต่คณะทูตจีนเดินทางมาไม่ถึง เพราะในระหว่างการเดินทางนั้นคณะทูตจีนได้ถูกพวกจามจับกุมประหารชีวิตเสียก่อน

อุกาบาต

อุกาบาต
อุกกาบาต ( Meteor) การศึกษาอุกกาบาตช่วยให้มนุษย์ได้สืบค้นถึงประวัติความเป็นมาของโลก ดาวเคราะห์ดวงพิเศษสุดที่เราถือกำเนิดและอาศัยกันอยู่ทุกวันนี้ได้ดีขึ้น ในบางคืนที่ท้องฟ้าปลอดโปร่งแจ่มใส เราอาจเห็นแสงวูบวาบตกลงมาจากฟากฟ้า เรียกกันว่า ดาวตก หรือ ผีพุ่งไต้ แต่ความจริงดาวตกเป็นวัตถุแข็งจำพวกหินหรือเหล็ก ตกเข้าสู่เขต บรรยากาศโลกด้วยความเร็วหลายร้อยกิโลเมตรต่อชั่วโมง แรงเสียดสีกับบรรยากาศทำให้ร้อนจัด หลอมตัวเป็นลูกไฟสว่าง มีควันเป็นทางยาว หากวัตถุชิ้นเล็กจะลุกไหม้สว่างกลายเป็นไอสลายไป หมด แต่บางก้อนที่มีขนาดใหญ่จะมีเสียงดังคล้ายเสียงยิงปืนหรือเสียงฟ้าผ่าเมื่อวิ่งผ่านอากาศ ตกลงมา และหากสลายตัวไม่หมด มักเหลือซากตกลงถึงพื้นโลก เรียกว่า ลูกอุกกาบาต มีขนาด เล็กใหญ่แตกต่างกัน ตั้งแต่น้ำหนักเพียงไม่กี่กรัมจนถึงก้อนหนึ่งหนักหลาย ๆ ตัน
อุกกาบาต nakhlite อุกกาบาตเหล็กอานิกฮิโต หนัก 34 ตันตกที่เกาะกรีนแลนด์ เมื่อปี 2440 ตั้งแสดงที่พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา นิวยอร์ก
อุกกาบาตแบ่งตามลักษณะเนื้อในเป็น 3 แบบ คือ อุกกาบาต ชนิด หิน เหล็ก และ เหล็กปนหิน ส่วนใหญ่ ที่พบเป็นอุกกาบาต ชนิดหิน ก้อนใหญ่ที่สุดในโลก ชื่อ จีหลิง ( Jiling) ตกที่อำเภอจีหลิง ประเทศจีน เมื่อ 8 มีนาคม 2519 หนักเกือบ 2,000 กิโลกรัม ส่วนอุกกาบาตชนิดเหล็ก ก้อนใหญ่สุดที่ค้นพบคือ โฮบา เวสท์ ( Hoba West) ปริมาตรราว 9 ลูกบาศก์เมตร หนักประมาณ 66 ตัน ตกกลางป่า ในอัฟริกาตะวันออกเฉียงใต้
อุกกาบาตชนิดหินส่วนใหญ่มีลักษณะเหมือนหินบนโลก และมักสลายตัวเพราะลมฟ้าอากาศ ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นที่จะบอกได้ว่าเป็นลูกอุกกาบาต การวิเคราะห์ทำได้โดยตัดผิวอุกกาบาตให้เรียบ ขัดมันแล้วใช้กรดอย่างอ่อนกัด พบโครงสร้างรูปผลึกปรากฏเห็นชัดบนผิวเรียบนั้น ซึ่งเป็นลักษณะ เฉพาะตัวของอุกกาบาต
อุกกาบาตขนาดใหญ่ที่พุ่งชนโลกอย่างแรง ทำให้เกิดหลุมลึกบนพื้นโลกเรียกว่า เครเตอร์ หลุมอุกกาบาตใหญ่ที่สุดบนโลก คือ หลุมแบริงเยอร์ ในรัฐอะริโซนา สหรัฐอเมริกา คาดว่า เกิดจากอุกกาบาตชนิดเหล็กหนักถึง 1 ล้านตัน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 30 เมตร ตกกระแทก พื้นโลกเป็นหลุมมหึมา ปากหลุมกว้าง 1,200 เมตร ลึก 170 เมตร ความลึกเท่ากับตึกสูง 40 ชั้นทีเดียว หลุมแบริงเยอร์อายุประมาณ 22,000 ปี นิดส์

ดาวหาง

แหล่งกำเนิดของดาวหาง
เชื่อว่าเป็นวัตถุที่เหลือจากการเกิดระบบสุริยะ เมื่อมารถูกความดันรังสีของ ดวงอาทิตย์ผลักดันให้ออกไปอยู่ห่างจากบริเวณภายนอกของระบบสุริยะระยะ ทาง1-2 ปีแสง โคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงแหวนวงกลมเรียกว่า Oort cloud ตามความเชื่อของนักดาราศาสตร์ชาวดัตช์ชื่อว่า แจน เฮนคริกอ็อร์ต
ส่วนประกอบของดาวหาง
มีส่วนประกอบดังนี้ 1.ส่วนใจกลางหัว(nucleus) คล้ายจุดดาวฤกษ์ โดยใช้กล้องโทรทรรศ์ดูจะปรากฎ เป็นฝ้าเป็นก้อนแข็งสกปรกมีฝุ่น มมีก๊าซระเหิดออกมาหุ้มแน่น 2.ส่วนที่เป็นดวงสว่างมกตรงใจกลางห่อหุ้มใจกลางอยู่(contral condensation) เรียกว่า ดวงสว่างกลาง 3.ก๊าซและฝุ่นที่แผ่กระจายฟุ้งออกมารอบสะท้อนจากดวงอาทิตย์ปรากฎเป็นรัศมี เรืองหุ้มส่วนกลางคือส่วนหัวนั่นเอง 4.หาง(tail)มี2ประเภทมีอยู่ในดาวหางดวงเดียวกันหางที่ประกอบด้วยฝุ่นเรียกหางฝุ่น หางที่เป็นก๊าซแตกตัวเป็นไอออนเรียกว่าหางพลาสมาหางฝุ่นมีสีเหลืองสันแหลมโค้ง หางพลาสมามีสีนำเงิน เหยียดตรง 5.กลุ่มก๊าซไฮโดรเจน ห่อหุ้มดาวหาง มีกลุ่มก๊าซไฮโดรเจนมหึมาห้อหุ้มอยู่ ดาวหางโคฮูเทค(kohotek) ก็พบว่ามีกลุ่มก๊าซไฮโดรเจนเช่นกัน
วงทางโคจรของดาวหางและการค้นพบ
ดาวหางมีวงทางโคจรเป็นรูปวงรีมีดวงอาทิตย์เป็นจุดโฟกัสบางครั้งวงรอบ แกนยาวมากจนไม่สามารถบอกได้ว่าเส้นทางโคจรในระยะใกล้ดวงอาทิตย์ นั้นเป็นส่วนหนึ่งของวงรีหรื่อรูปพาราโบลาหรือไฮเพอร์โบลาการเคลื่อนที่ ตามทางจะเป็นไปตามกฎความโน้มถ่วงของนิวตันและตามกฎการโคจรดาว เคราะห์ของเคปเลอร์เช่นเดียวกับดาวเคราะห์,ดาวเคราะห์น้อยตั้งแต่โบราณจน ถึงเกือนกันยายนพ.ศ.2505ได้มีการคำนวณวงทางโคจรดาวหางต่างๆกัน ปรากฎว่าอาจแบ่งพวกได้ดังนี้ ดาวหางมีวงทางโคจรเป็นรูปวงรีมีดวงอาทิตย์เป็นจุดโฟกัสบางครั้งวงรอบ แกนยาวมากจนไม่สามารถบอกได้ว่าเส้นทางโคจรในระยะใกล้ดวงอาทิตย์ นั้นเป็นส่วนหนึ่งของวงรีหรื่อรูปพาราโบลาหรือไฮเพอร์โบลาการเคลื่อนที่ ตามทางจะเป็นไปตามกฎความโน้มถ่วงของนิวตันและตามกฎการโคจรดาว เคราะห์ของเคปเลอร์เช่นเดียวกับดาวเคราะห์,ดาวเคราะห์น้อยตั้งแต่โบราณจน ถึงเกือนกันยายนพ.ศ.2505ได้มีการคำนวณวงทางโคจรดาวหางต่างๆกัน ปรากฎว่าอาจแบ่งพวกได้ดังนี้
อิทธิพลดาวหางที่มีต่อโลก
1.เกี่ยวกับแรงโน้มถ่วงหรื่อแรงดึงดูดโลก 2.เกี่ยวกับรับสีที่ดาวหางฉายมายังโลก รังสีที่ดาวหางแผ่ออกจากตัวมีทั้งแสงอาทิตย์สะท้อนจากฝุ่นและก๊าซ เมื่อดาวหางเข้าใหล้ดวงอาทิตย์มาก จากการ ตรวจสอบรังสีนี้ไม่มีความเข้มข้นที่ก่อให้เกิดอันตรายาต่อชีวิตมนุษย์,สัตว์ หรือพืช ทีมีอยู่ในโลกแต่อย่างใด 3.ฝุ่นและก๊าซในหางของดาวหางที่หลุดออกจากอำนาจแรงดึงดูดส่วน ใจกลางหัวจะกระจัดกระจายออกในอวกาศ ฝุ่นซึ่งเป็นอนุภาคของแข็งแผ่กระจายใน ระนาบวงโคจรดาวหางรอบดวงอาทิตย์ส่วนก๊าซฟุ้งกระจายไปและอาจถูกฟลักดันโดย อนุภาคไฟฟ้าในลมสุริยะสรุปได้ว่าดางหางไม่มีอิทธิพลต่อโลกหรื่อสิ่งมีชีวิตบนโลก

จันทรุปราคา

จันทรุปาคา เป็นปรากฏการณ์ ที่โลกบังแสงดวงอาทิตย์ไม่ให้ไปกระทบที่ดวงจันทร์ ในบริเวณดวงอาทิตย์ในวันเพ็ญ ( ขึ้น 15 ค่ำ ) โดยโลกอยู่ระหว่างดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์ ทำให้เงาของโลกไปบังดวงจันทร์
การเกิดจันทรุปราคา หรือเรียกอีกอย่างว่า จันทคราส คือ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในคืนวันเพ็ญ ( ขึ้น 15 ค่ำ) เมื่อดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในระนาบเส้นตรงเดียวกับโลกและดวงอาทิตย์ทำให้เงาของโลกบังดวงจันทร์คนบนซีกโลกซึ่งควรจะเห็นดวงจันทร์เต็มดวงในคืนวันเพ็ญจึงมองเห็นดวงจันทร์ในลักษณะต่างๆ เช่น “ จันทรุปราคาเต็มดวง” เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนเข้าไปในเงามืดของโลก จึงทำคนบนซีกโลกที่ควรเห็นดวงจันทร์เต็มดวง กลับเห็นดวงจันทร์ซึ่งเป็นสีเหลืองนวลค่อยๆ มืดลง กินเวลาประมาณ 1.5 ชั่วโมง จากนั้นจึงจะเห็นดวงจันทร์ เป็นสีแดงเหมือนสีอิฐเต็มดวง เพราะได้รับแสงสีแดงซึ่งเป็นคลื่นที่ยาวที่สุดและบรรยากาศโลกหักเหไปกระทบกับดวงจันทร์ ส่วน “ จันทรุปราคาบางส่วน” เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่เข้าไปในเงามือของโลกเพียงบางส่วน จึงทำให้เห็นดวงจันทร์เพ็ญบางส่วนมืดลงและบางส่วนมีสีอิฐขณะเดียวกันอาจเห็นเงาของโลกเป็นขอบโค้งอยู่บนดวงจันทร์ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ว่าโลกกลมผลกระทบ การเกิดจันทรุปราคาไม่ค่อยส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติเพราะเป็นช่วงกลางคืน แต่คนสมัยก่อนมีความเชื่อเช่นเดียวกับการเกิดสุริยุปราคา โดยเชื่อว่า “ราหูอมจันทร์” ซึ่งจะนำความหายนะ และภัยพิบัติมาสู่โลก คนจีนและคนไทยจึงแก้เคล็ดคล้ายกันเช่น ใช้วิธส่งเสียงขับไล่ คนจีนจุดประทัด ตีกะทะ ส่วนคนไทยก็เล่นกันก็ตีกะลา เอาไม้ตำน้ำพริกไปตีต้นไม้ เอาผ้าถุงไปผูกเพื่อล้างความโชคร้ายและให้ราหูโลกอมจันทร์”

สุริยุปราคา

สุริยุปราคา เป็นปรากฏการณ์ ตามธรรมชาติ ที่ดวงจันทร์ โลก และดวงอาทิตย์ โคจรมาอยู่ในแนวเส้นตรง ทำให้ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์ และเงาของดวงจันทร์จึงตกมาบน บริเวณ ต่างๆ บนโลกสุริยุปราคาคืออะไรสุริยุปราคาหรือเรียกอีกอย่างว่า สุริยะคราส หมายถึง ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นขณะที่ดวงจันทร์หมุนรอบโลก แล้วโคจรมาบังดวงอาทิตย์ จึงทำให้โลกไม่ได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ ช่วงขณะหนึ่ง โดยเงาของดวงจันทร์จึงตกมาบนโลก ทำให้บริเวณพื้นผิวโลกที่อยู่ใต้เงามืดของดวงจันทร์ เห็นดวงอาทิตย์มืดมิด เราเรียกว่า “สุริยุปราคาเต็มดวง” และบริเวณพื้นโลกที่อยู่ใต้เงามัวของดวงจันทร์ก็จะเห็นดวงอาทิตย์มืดเป็นดวงกลมโดยมีขอบสว่างล้อมรอบคล้ายวงแหวน เราเรียกว่า “วงแหวนสุริยุปาคา” ส่วนบางบริเวณก็เห็นดวงอาทิตย์มืดบางส่วนและสว่างบางส่วน เราเรียกว่า “สุริยุปราคาบางส่วน” สุริยุปราคาจะเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก เพราะส่วนใหญ่ดวงจันทร์มักจะโคจรในระดับที่สูงหรือต่ำกว่าแนวระดับเดียวกัน ( แนวเส้นตรงเดียวกัน ) กับโลกและดวงอาทิตย์ ดังนั้นสุริยุปราคาจะเกิดขึ้นได้เมื่อดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในแนวเส้นตรงระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ( ตรงกับแรม 14 – 15 ค่ำ )ผลกระทบ การเกิดสุริยุปราคามีผลกระทบก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เนื่องจากการที่ดวงอาทิตย์ค่อยๆ ลดแสงลงเนื่องจากดวงจันทร์บังแสงดวงอาทิตย์ ทำให้สัตว์ต่างๆพากันกลับรังเพราะนึกว่าถึงเวลากลางคืนเห็นได้ชัดก็คือ นกชนิดต่างๆ จะบินกลับรัง ส่วนคนก็พากันตื่นเต้นและเตรียมการเฝ้าดูในปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้มนุษย์มีโอกาสเห็น และได้ศึกษาการเกิดสุริยุปราคา และเกิดบริเวณใดของโลกวิธีดู เมื่อเกิดสุริยุปราคาไม่ควรดูด้วยตาเปล่า เพราะอาจทำให้ตาบอดหรือเป็นโรคตาได้ ควรใช้อุปกรณ์เป็นแผ่นฟิล์มถ่ายรูปขาวดำที่ใช้แล้ว นำมาซ้อนกัน 2 –3 แผ่น แล้วดูผ่านฟิล์มถ่ายรูป หรือใช้การมองผ่านกระจกที่รมควันให้แสงผ่านได้น้อยที่สุด



วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2552

มาดูภาพสามมิติกันเถอะ


พลูโต

ดาวพลูโต (Pluto)

เมื่อมีการค้นพบดาวเนปจูน ได้ประมาณขนาดและการหมุนรอบของมัน แต่ผลที่ออกมาไม่ได้เป็นไปตามที่คาดคิด ผลที่ได้ไม่สามารถอธิบายการหมุนที่ผิดปกติของดาวยูเรนัส บางทีอาจมีดาวเคราะห์อีกดวงที่อยู่ถัดจากดาวเนปจูน บางทีอาจเป็นแรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์ดวงนี้ดึงดูดดาวยูเรนัส ได้มีการเริ่มค้นหาดาวเคราะห์ดวงที่เก้าในระบบสุริยะ ดาวเคราะห์ดวงใหม่นี้ถูกค้นพบในปี 1930 ชาวอเมริกันชื่อ Clyde Tombaugh ได้ถ่ายภาพของมันบนท้องฟ้า ดาวเคราะห์ดวงนี้มีชื่อว่าดาวพูลโต สามารถมองเห็นได้โดยการใช้กล้องโทรทัศน์ขนาดใหญ่เท่านั้น
เวลาส่วนใหญ่แล้วดาวพูลโตจะเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างไกลดวงอาทิตย์มากที่สุด ในระหว่างการหมุนบางช่วงจะใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าดาวเนปจูน และอยู่ห่างไกลที่สุดในปี 1999 ดาวพูลโตเป็นดาวขนาดเล็ก โดยมีขนาดเล็กกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ และยังเล็กกว่าดวงจันทร์ของโลก บนดาวมีความหนาวเย็นมากและอาจไม่มีชั้นบรรยากาศ พื้นผิวของมันอาจปกคลุมด้วยน้ำแข็งหรือก๊าซของแข็ง เราคิดว่าดาวพูลโตประกอบขึ้นด้วยน้ำแข็งโดยมีแกนเป็นหิน ลักษณะอาจจะเหมือนดาวบริวารของดาวยูเรนัส บางทีครั้งหนึ่ง ดาวพูลโตอาจเคยเป็นดาวบริวารของดาวเนปจูนซึ่งหนีการหมุนรอบดาวเนปจูน

รูปจากกล้องฮับเบิ้ล ดาวพลูโต (ซ้าย) และดาวชารอน
ดาวพูลโตมีดาวบริวาร 1 ดวงชื่อดาว Charon ซึ่งพบโดยการดูด้วยกล้องโทรทัศน์ในปี 1978 ดาว Charon มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 725 ไมล์ ซึ่งเป็นครึ่งหนึ่งของเส้นผ่าศูนย์กลางของดาวพูลโต ดาว Charon หมุนรอบดาวพูลโต โดยมีระยะทางห่างจากดางพูลโต 12,125 ไมล์ มันใช้เวลาหมุนรอบดาวพูลโต เท่ากับการหมุนรอบตัวเองของดาวพูลโต ดังนั้นถ้าหากเราอยู่บนดาวพูลโตเราจะมองไม่เห็นดาว Charon ปรากฏบนท้องฟ้า

ดาวเนปจูน

ดาวเนปจูน (Neptune)

เมื่อดาวยูเรนัสถูกค้นพบ คนได้วันเส้นทางของมันผ่านอวกาศ การหมุนรอบของดาวยูเรนัสมีลักษณะผิดปกติบางคนคิดว่าจะต้องมีดาวเคราะห์ดวงใหญ่อีกดวงหนึ่ง ดาวเคราะห์ที่ไม่เป็นที่รู้จักอาจอยู่ถัดจากดาวยูเรนัส แรงโน้มถ่วงของมันอาจจะดึงไปที่ดาวยูเรนัสจึงทำให้การหมุนของมันเปลี่ยนแปลง ในปี 1845 นักดาราศาสตร์สองคนที่ทำงานคนละที่ในอังกฤษและฝรั่งเศสรู้ว่าดาวเคราะห์ดวงใหม่อยู่ที่ใหน ทั้งสองมีความเห็นตรงกัน คนอื่นๆก็เริ่มลงมือศึกษาดาวเคราะห์ดวงใหม่นี้ ในปี 1846 ชาวเยอรมันชื่อ Johann Galle ได้พบโลกใหม่ด้วยกล้องโทรทัศน์ขนาดใหญ่ มันอยู่ในตำแหน่งที่นักดาราศาสตร์คนอื่นได้ระบุไว้ก่อนแล้ว ดาวเคราะห์ดวงใหม่มีสีน้ำเงินมีชื่อว่าดาวเนปจูนตามชื่อเทพเจ้าแห่งทะเลโรมัน
ดาวเนปจูนโตเกือบเท่าดาวยูเรนัส มันเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่เป็นอันดับสี่ในระบบสุริยะ มันอยู่ห่างไกลจากโลกมาก จึงทำให้มองเห็นสลัวมาก ดาวเนปจูนสามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องสองตา มันดูคล้ายกับดาวฤกษ์ ยังไม่มียานอวกาศที่เคยไปยังดาวเนปจูน สิ่งที่เรารู้ทั้งหมดก็คือ ดาวเคราะห์ดวงนี้มองเห็นจากโลก
ก็เหมือนกับดาวยูเรนัส มีมหาสมุทร น้ำที่ลึกล้อมรอบแกนหินซึ่งอยู่ใจกลางของดาวเนปจูน บรรยากาศของดาวเนปจูนไม่เต็มไปด้วยหมอกเหมือนกับดาวยูเรนัส กล้องโทรทัศน์ขนาดใหญ่แสดงให้เห็นแถบกลุ่มควันขาวที่หมุนรอบดาวเนปจูน บรรยากาศจะเย็นมาก กลุ่มควันประกอบด้วยมีเทนที่แข็ง บางครั้งกลุ่มควันเหล่านี้จะกระจายออกและปกคลุมดาวเนปจูนทั้งดวง อาจมีลมพัดจัดบนดาวเนปจูน ลมเกิดจากอากาศร้อนที่ลอยขึ้น ลมเย็นพัดเข้าไปแทนที่ บนดาวเนปจูน ความร้อนต้องมาจากภายในเพื่อทำให้ลมพัด ในเดือนสิงหาคม ปี 1989 ยานวอเยเจอร์ 2 ได้ไปถึงดาวเนปจูน มันบินผ่านและส่งภาพและการวัดกลับมายังพื้นโลกเราคงมีความรู้มากขึ้นเกี่ยวกับดาวเนปจูน ต่อจากนั้น ยานวอเยเจอร์ 2 จะบินออกจากระบบสุริยะตั้งแต่ได้ออกจากโลกไปในปี 1977 ยานอวกาศจะบินผ่านดาวเคราะห์ชั้นนอกสี่ดวง ยังไม่มียานลำใดที่ได้ไปยังดาวเคราะห์ต่างๆมากเหมือนยานวอยาเจอร์

ส่วนโค้งและดาวบริวารของดาวเนปจูน หลังจากที่ได้มีการค้นพบว่า ดาวยูเรนัสมีวงแหวน คนเริ่มมองหาวงแหวนรอบๆดาวเนปจูนเขาใช้กล้องโทรทัศน์มองดูดาวเนปจูนเมื่อมันเคลื่อนใกล้ดาวฤกษ์ ถ้าดาวเนปจูนมีวงแหวนมันก็จะผ่านด้านหน้าของดาวฤกษ์ วงแหวนแต่ละวงจะตัดแสงของดาวฤกษ์ชั่วขณะหนึ่ง ในปี 1981 นักคณิตศาสตร์คนหนึ่งได้เห็นการลิบหรื่ของดาวฤกษ์ ตั้งแต่นั้น คนบางคนได้เห็นการลิบหรื่แต่บางคนไม่เห็นอะไรเลย บางมีดาวเนปจูนอาจมีวงแหวนที่เป็นชิ้นส่วนที่แตกออกเป็นชิ้นๆมันอาจมีส่วนโค้งสั้นๆ แทนที่จะเห็นวงแหวนทั้งวง ส่วนโค้งจะหมุนรอบดาวเนปจูน
ดาวบริวาร นักดาราศาสตร์ได้พบดาวบริวารสองดวงที่หมุนรอบดาวเนปจูน ดาวดวงหนึ่งมีขนาดเล็กชื่อว่า Neried ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 300 ไมล์ และหมุนรอบห่างจากดาวเนปจูน 3,475,000 ไมล์ ดาวบริวารดวงอื่นๆของดาวเนปจูนคือดาว Triton มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2,100 ไมล์เป็นดาวบริวารที่ใหญ่เป็นที่สี่ ดาว Triton อาจมีบรรยากาศ มันอาจมีมหาสมุทรมีเธนและไนโตรเจนมันหมุนรอบดาวเนปจูนโดยห่างจากดาวเนปจูนเป็นระยะทาง 220,625 ไมล์ ดาว Triton หมุนรอบดาวเนปจูนในทิศทางตรงกันข้ามจากดาวบริวารส่วนใหญ่ มันยังเคลื่อนไหวเข้าไกล้ดาวเนปจูนในเวลา 10 ล้าน ถึง 100 ล้านปี มันอาจปะทะกับดาวเนปจูนหรือมันอาจแตกออกเป็นชิ้นเล็กๆและก่อตัวเป็นรูปวงแหวนขนาดกว้างล้อมรอบดาวเนปจูน

ดาวยูเรนัส

ดาวยูเรนัส (Uranus)

ดาวเคราะห์ชั้นนอกดวงต่อไปถัดจากดาวเสาร์ได้แก่ดาวยูเรนัส ดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่เป็นที่สามในระบบสุริยะ มันมีลักษณะเลือนลาง จะต้องมองดูด้วยกล้องโทรทัศน์เท่านั้นจึงสามารถมองเห็น เราเคยคิดว่ามันเป็นดาวฤกษ์ ในปี 1781 William Herschel ได้ใช้กล้องโทรทัศน์ค้นพบว่า ดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ เขาเห็นแผ่นกลมสีเขียวที่ไม่มีรอย ต่อมา นักดาราศาสตร์ได้พบดาวบริวารห้าดวง ในปี 1977 ได้มีการพบวงแหวนของดาวยูเรนัส ถึงแม้ว่านักดาราศาสตร์จะใช้กล้องโทรทัศน์ขนาดใหญ่ที่สุด แต่เขาก็ยังไม่สามารถค้นหาอะไรได้มากมายนักเกี่ยวกับดาวยูเรนัสเอง ในปี 1986 ยานอวกาศวอยาเจอร์2 ได้บินผ่านดาวยูเรนัสและได้ส่งภาพที่ชัดเจนของดาวยูเรนัส และวงแหวนตลอดจนดาวบริวารของมันกลับมายังพื้นโลก ในที่สุดเราก็ได้ความรู้เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับดาวยูเรนัส
โลกของน้ำ ภาพของดาวยูเรนัสจากยานอวกาศได้อธิบายว่า ทำไมนักดาราศาสตร์จึงไม่สามารถมองเห็นดาวยูเรนัสได้มากนัก ดาวยูเรนัสทั้งดวงปกคลุมด้วยหมอกสีเขียวแก่ ยานวอยาเจอร์ได้พบกลุ่มควันสองสามกลุ่มใต้หมอก แสดงให้เห็นว่าลมกำลังพัดรอบๆดาวยูเรนัสในอัตราความเร็วถึง 440 ไมล์ต่อชั่วโมง บรรยากาศประกอบด้วยแก๊ซไฮโดรเจน ฮีเลียม และมีเธน นักดาราศาสตร์บางคนคิดว่าพื้นผิวของดาวยูเรนัสปกคลุมด้วยมหาสมุทรที่ร้อน เหมือนกับดาวจูปิเตอร์และดาวเสาร์ แต่ประกอบด้วยน้ำร้อนแทนที่จะเป็นแก๊ซ ที่ใจกลางของดาวยูเรนัสจะมีแกนก้อนหินเล็กๆ

ด้านในของดาวยูเรนัส ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถมองเห็นได้มากนักบนดาวยูเรนัส แต่นักดาราศาสตร์ได้พบสิ่งประหลาดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับดาวยูเรนัส คือดาวยูเรนัสจะเอียงข้าง แกนของมันจะเอียงเพื่อว่าขั้วของมันจะตั้งเกือบอยู่ในทิศทางเดียวกับการเคลื่อนไหวของดาวยูเรนัส ไม่มีดาวเคราะห์ดวงใดที่มีลักษณะดังกล่าว เหตุผลที่ดาวยูเรนัสมีการเอียงมากอาจเห็นเพราะว่าครั้งหนึ่งเคยถูกกระแทกโดยดาวเคราะห์น้อย ในขณะที่ดาวยูเรนัสหมุนรอบดวงอาทิตย์ ขั่งข้างหนึ่งจะชี้ไปทางดวงอาทิตย์ ขั้วที่ชี้ไปทางดวงอาทิตย์จะเห็นแสงสว่างของเวลากลางวันเป็นเวลา 22 ปี แล้วด้านนี้จะหมุนไปด้านตรงข้ามกับดวงอาทิตย์อยู่ในความมืดอีก 22 ปี ยานวอยาเจอร์พบว่าขั้วมืดจะอบอุ่นกว่าขั้วที่มีแสงสว่างเล็กน้อยไม่มีใครรู้ว่าเป็นเพราะเหตุใด
วงแหวนและดาวบริวารของดาวยูเรนัส วงแหวนของดาวยูเรนัสมีความมืดมาก ผิดกับวงแหวนที่สว่างของดาวเสาร์ ถ้าไม่มองด้วยกล้องโทรทัศน์ก็จะมองไม่เห็น วงแหวนของดาวยูเรนัสถูกพบโดยหอดูดาวแอร์บอร์นในปี 1977 ซึ่งเป็นยานชนิดพิเศษที่นำกล้องโทรทัศน์ไปด้วย นักดาราศาสตร์บนเครื่องบินเฝ้ามองดูดาวยูเรนัสเมื่อมีดาวฤกษ์เคลื่อนไหวมาตรงข้ามหน้าของมัน ยานวอยาเจอร์ 2 มองดูที่วงแหวนเมื่อมันบินผ่านดาวยูเรนัส วงแหวนของดาวยูเรนัสจะแคบ วงแหวนที่กว้างที่สุดคือช่องว่างที่ใหญ่ซึ่งประกอบไปด้วยก้อนฝุ่น ยานวอเยเจอร์พบส่วนโค้งบางอย่าง ซึ่งเป็นส่วนของวงแหวนที่ไม่สมบูรณ์ วงแหวนของดาวยูเรนัสประกอบด้วยชิ้นน้ำแข็งมืดที่เคลื่อนไหว น้ำแข็งประกอบด้วยมีเทนแข็ง ชิ้นส่วนของมันอาจจะชนกันและทำให้เกิดฝุ่นที่อยู่ในช่องว่างระหว่างวงแหวน
ดาวบริวารที่ประหลาด ยานวอยาเจอร์ยังพบดาวบริวารขนาดเล็กสิบดวงที่อยู่รอบดาวยูเรนัสซึ่งไม่เคยพบมาก่อน ทั้งหมดหมุนรอบๆระหว่างวงแหวนและดาวมิแรนดา มิแรนดาเป็นดาวที่อยู่ใกล้ที่สุดของบรรดาดาวทั้งห้าดวงซึ่งเป็นที่รู้จักกันมาก่อนแล้ว ดาวบริวารเหล่านี้ประกอบด้วยน้ำแข็งและหิน เป็นดาวบริวารที่แปลกประหลาดที่สุดในระบบสุริยะ ดาวบริวารของดาวยูเรนัสมีหย่อมขนาดใหญ่สีขาวและสีดำ ซึ่งอาจเกิดจากการผสมกันระหว่างน้ำแข็งและแก๊ซแข็ง มีหุบเขาลึกและภูเขาสูงด้วยเช่นเดียวกัน บนดาวมิแรนดาจะมีหน้าผาสูงสิบสองไมล์ นักดาราศาสตร์คิดว่าครั้งหนึ่งมิแรนดาอาจแตกเป็นส่วนๆต่อมา ชิ้นส่วนเหล่านี้กลับเข้ามาประกบอีกเหมือนก่อน

ดาวเสาร์

ดาวเสาร์ (Saturn)

ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ที่มีความสวยงาม จากวงแหวนที่ล้อมรอบ เมื่อดูในกล้องโทรทรรศน์จะเห็นวงแหวน ซึ่งทำให้ดาวเสาร์มีลักษณะแปลกกว่าดาวดวงอื่นๆ ดาวเสาร์มีองค์ประกอบคล้ายดาวพฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์ก๊าซที่มีลมพายุพัดแรงความเร็วถึง 1,125 ไมล์ต่อชั่วโมง มีขนาดใหญ่รองจากดาวพฤหัสบดี ถ้านับวงแหวนเข้าไปด้วย จะมีขนาดเท่าดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ที่มีความหนาแน่นน้อยที่สุด กล่าวคือมีความหนาแน่นเพียง 0.7 กรัมต่อลูกบาศก์ เซนติเมตร ซึ่งน้อยกว่าความหนาแน่นของน้ำ ดังนั้นหากมีน้ำจำนวนมากรองรับ ดาวเสาร์ก็จะลอยน้ำได้ เนื่องจากดาวเสาร์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 2 เท่าของระยะดาวพฤหัสบดีจากดวงอาทิตย์ จึงใช้เวลานานเกือบ 30 ปีในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ แต่ดาวเสาร์หมุนรอบตัวเองเร็วมาก จึงทำให้โป่งออกทางด้านข้างมากกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่น สามารถสังเกตได้แม้ในภาพถ่ายขนาดเล็ก

วงแหวนของดาวเสาร์เป็นก้อนหินและน้ำแข็งสกปรก กล่าวคือ น้ำแข็งช่วยยึดฝุ่นและก้อนหินสกปรกเข้าด้วยกัน ก้อนน้ำแข็งสกปรกมีขนาดต่างๆ กัน และมีเป็นจำนวนมาก น้ำแข็งสะท้อนแสงดวงอาทิตย์ได้ดี เราจึงเห็นวงแหวนชัดเจน วงแหวนบางมาก และประกอบด้วยวงแหวนจำนวนหลายพันวง แต่สังเกตได้จากโลกเห็นเป็นชั้นๆ ชั้นนอกสุด เรียกว่า วงแหวน A วงสว่างที่สุดอยู่ใกล้ดาวเสาร์เรียกว่า วงแหวน B ช่องว่างระหว่างวงแหวนทั้งสองนี้เรียกว่า ช่องแคสสินี (Cassini Division) ซึ่งตั้งชื่อตามนักดาราศาสตร์ชาวอิตาลิ Giovani Cassini ซึ่งพบวงแหวนนี้เป็นคนแรกในปี 1675 ภายในวงแหวน B มีวงแหวนที่ไม่สว่างชื่อวงแหวน C ภาพจากการถ่ายของยานไพโอเนียร์และวอยาเจอร์แสดงให้เห็นว่า มีวงแหวนมากกว่าสามวง คือมีวงแหวน D ซึ่งมองเห็นเลือนๆ นอกจากนี้ยังมีวงแหวนชั้นนอกที่มีลักษณะแคบๆ เรียกว่าวงแหวน F และวงแหวน G ด้านหลังของวงแหวนทั้งสองนี้เป็นวงแหวนขนาดกว้าง แต่มีความเลือนคือ วงแหวน E วงแหวนทั้งหมดจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 375,000 ไมล์ วงแหวนแต่ละวงบางมากเมื่อเทียบกับความกว้าง เปรียจประดุจดังแผ่นกระดาษ ดังนั้นเมื่อด้านข้างของวงแหวนหันมาทางโลก เราจึงมองไม่เห็นวงแหวนของดาวเสาร์ วงแหวนดาวเสาร์เอียงจากระนาบทางโคจรของดาวเสาร์รอบดวงอาทิตย์เป็นมุม 27 องศา เมื่อดูจากโลกจึงเห็นวงแหวนไม่เหมือนกันในแต่ละตำแหน่ง ถ้าวงแหวนหันด้านข้างมาทางโลกเราจะมองไม่เห็นวงแหวนเลย แต่จะเห็นเป็นเส้นสีดำพาดผ่านดาวเสาร์ ยานอวกาศวอยเอเจอร์ 1 และวอยเอเจอร์ 2 ที่ผ่านเฉียดดาวเสาร์พบว่า วงแหวนของดาวเสาร์ด้านที่ได้รับแสงแดดมีอุณหภูมิ -180 องศาเซลเซียส ส่วนด้านมืดอุณหภูมิต่ำกว่านี้เป็น -200 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำขนาดนี้น้ำแข็งจะไม่ระเหยหรือกลายเป็นไอเลย วงแหวนที่เห็นจากโลกเป็น 3 ชั้นนั้น แท้ที่จริงประกอบด้วยวงแหวนเล็กๆ จำนวนเป็นล้านๆ วง วงแหวนก่อรูปร่างอย่างไรและเมื่อไร? วงแหวน C และ B ได้ก่อตัวเมื่อดาวเสาร์หรือดาวเคราะห์อื่นๆ ในระบบสุริยะเริ่มเกิดขึ้น ดาวเคราะห์ก่อตัวด้วยแก๊ซและอนุภาคที่ลอยในอวกาศ วงแหวนอาจก่อตัวโดยอนุภาคน้ำแข็งที่ตกค้าง วงแหวน A อาจเป็นเศษที่เหลือของดาวบริวารที่เป็นน้ำแข็งของดาวเสาร์ ประมาณ 10 ล้านปีมาแล้ว ดวงจันทร์อาจแตกแยกออกจากกัน ชิ้นส่วนทั้งหมดของดวงจันทร์อาจกระจัดกระจายเป็นวงแหวนกว้าง ในขณะที่มันหมุนรอบดาวเคราะห์
ก่อนปี 1980 มีคนคิดว่าดาวเสาร์มีดาวบริวารสิบดวง หลังจากนั้นยานวอยาเจอร์ ได้พบดาวบริวารเพิ่มขึ้นอีกหลายดวง ปัจจุบันเราคิดว่าดาวเสาร์มีดาวบริวารอื่นๆ นอกเหนือจากดาวบริวารเหล่านี้ ดาวบริวารชั้นในประกอบขึ้นด้วยน้ำแข็ง และบางดวงก็ประกอบด้วยหิน มันปกคลุมด้วยหินและรอยแตกดาวบริวารชั้นในบางดวงมีการหมุนที่ผิดปกติ ดาวบริวารที่อยู่ใกล้ที่สุดคือ ดาว Inner Shepherd และดาว Outer Shepherd มันจะหมุนรอบแต่ละข้างของวงแหวน F แรงโน้มถ่วงของดาวบริวารมีผลกระทบต่อส่วนของวงแหวน F มันทำให้ลอนบิดเบี้ยวเป็นรูปเกลียวที่ประหลาด มีกลุ่มดาวบริวารชั้นในที่หมุนรอบดาวเสาร์เช่นเดียวกัน บ้างก็หมุนในระยะห่างกัน บ้างก็หมุนใกล้กัน บ้างก็หมุนไปข้างหน้าหรือข้างหลังของดาวอื่น แต่มันไม่ปะทะกัน ดาวบริวารชั้นนอกดวงแรกของดาวเสาร์ มีชื่อเรียกว่า Titan เป็นดาวบริวารที่ใหญ่เป็นที่สองในระบบสุริยะ ดาว Titan มีชั้นบรรยากาศ มันเป็นสิ่งผิดปกติที่ดาวบริวารถูกล้อมรอบด้วยชั้นของแก๊ซเหมือนกับดาวเคราะห์ ยานวอยาเจอร์ 1 ได้เข้าไปใกล้ดาว Titan เมื่อมันบินผ่านดาวเสาร์ในปี 1980 ภาพที่ถูกส่งกลับมาแสดงให้เห็นว่าถูกปกคลุมด้วยหมอกสีส้ม แต่ไม่สามารถมองเห็นพื้นผิวได้เลย บรรยากาศประกอบด้วยแก๊ซไนโตรเจนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นแก๊ซที่สำคัญในบรรยากาศของโลก เรามีแก๊ซออกซิเจนในโลกด้วย แต่ดาว Titan ไม่มีแก๊ซเหล่านี้ แต่มันมีแก๊ซมีแทนซึ่งเป็นแก๊ซธรรมชาติที่เราใช้สำหรับการหุงต้มในโลก หมอกเกิดจากการตกผลึกของของแหลวสีส้มในบรรยากาศของดาว Titan ของแหลวที่มีสีดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อรังสีจากดวงอาทิตย์กระทบกับแก๊ซ พื้นผิวของดาว Titan มีความเย็นมาก เป็นที่เข้าใจกันว่าพื้นผิวอาจปกคลุมด้วยมหาสมุทรของมีเทนแหลว หรือหิมะสีน้ำตาลที่ประกอบขึ้นจากมีเทน ภายในดาว Titan ประกอบด้วยน้ำแข็งซึ่งมีแกนเป็นหิน นักดาราศาสตร์ต้องการค้นหาสิ่งต่างๆ ให้มากกว่านี้เกี่ยวกับดาว Titan ยานอวกาศอาจไปถึงที่นั่นในศตวรรษหน้า มันเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ที่ครั้งหนึ่งโลกของเรามีสภาพคล้ายดาว Titan ถัดจากดาว Titan จะมีบริวารอีกสามดวง ดาวดวงแรกคือ Hyperion ซึ่งเป็นดาวขนาดเล็กประกอบด้วยน้ำแข็งมีรูปร่างคล้ายถั่ว ดาว Hyperion อาจเป็นซากที่เหลือของดาวบริวารดวงใหญ่ที่แตกกระจายออกมา ถัดจากดาว Hyperion คือดาว Iapetus ดาวบริวารประหลาดดวงนี้จะมืดในด้านหนึ่งและสว่างอีกด้านหนึ่ง โดยสีที่เกิดจากหินซึ่งมาจากภายในดาว ดาวบริวารที่อยู่ชั้นนอกที่สุดเรียกว่า Phoebe มันจะหมุนไปรอบๆ Phoebe อาจจะเป็นดาวเคราะห์น้อยซึ่งถูกดึงดูดโดยแรงโน้มถ่วงของดาวเสาร์

ดาวพฤหัสบดี

ดาวพฤหัสบดี (Jupiter)

ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์ยักษ์ เพราะมีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ มีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวกว่าโลก 11.2 เท่า นอกจากนี้ยังได้ชื่อว่าเป็นดาวเคราะห์ก๊าซ เพราะมีองค์ประกอบเป็นก๊าซไฮโดรเจนและฮีเลียมคล้ายในดวงอาทิตย์ ความหนาแน่นของดาวพฤหัสบดีจึงต่ำ (1.33 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร) เมื่อดูในกล้องโทรทรรศน์ จะเห็นเป็นดวงกลมโตกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ พร้อมสังเกตเห็นบริวาร 4 ดวงใหญ่เรียงกันอยู่ในแนวเส้นศูนย์สูตรด้วย กาลิเลโอเป็นนักดาราศาสตร์คนแรกที่ใช้กล้องส่องพบบริวารสี่ดวงใหญ่นี้ จึงได้รับเกียรติว่าเป็นดวงจันทร์ของกาลิเลโอ

ความเป็นที่สุดของดาวพฤหัสบดี ใหญ่ที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ทั้งหลาย โดยมีเส้นผ่านศุนย์กลางเป็น 11.2 เท่าของโลก ขนาดเชิงมุมใหญ่ที่สุดเท่ากับ 50.0 ฟิลิปดา มีมวลสารมากที่สุดโดยมีเนื้อสารเป็น 318 เท่าของโลก หรือ 2.5 เท่าของดาวเคราะห์อื่นและบริวารรวมกัน มีปริมาตรมากที่สุด ถ้าดาวพฤหัสบดีกลวงจะสามารถจุโลกได้ 1,430 โลก หมุนรอบตัวเองเร็วที่สุด โดยใช้เวลาไม่ถึง 10 ชั่วโมงในการ หมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ดังนั้น 1 วันบนดาวพฤหัสบดีจึงสั้นที่สุดด้วย การหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็วของดาวเคราะห์ ทำให้เกิดแรงเหวี่ยงหนีออกจากจุดศูนย์กลาง ดาวพฤหัสบดีจึงโป่งออกบริเวณเส้นศูนย์สูตร ซึ่งสามารถสังเกตได้แม้ในรูปขนาดเล็ก มีความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงที่ผิวมากที่สุด โดยมีค่าเป็น 2.53 เท่าของโลก นั่นหมายความว่าถ้าเราอยู่บนดาวพฤหัสบดีเราจะหนักเป็น 2.53 เท่าของน้ำหนักบนโลก มีความเร็วของการผละหนีที่ผิวมากที่สุด (60 กิโลเมตรต่อวินาที เทียบกับ 11.2 กิโลเมตรต่อวินาทีที่ผิวโลก) ดังนั้นก๊าซไฮโดรเจนและก๊าซฮีเลียมที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วต่ำ จึงไม่สามารถหนีจากดาวพฤหัสบดีได้ เป็นราชาแห่งดาวเคราะห์เพราะความเป็นที่สุดดังกล่าวข้างต้น นอกจากนี้ยังเป็นระบบสุริยะย่อยๆ เพราะมีบริวารอย่างน้อย 16 ดวง เคลื่อนไปรอบๆ คล้ายดวงอาทิตย์ที่มีดาวเคราะห์โคจรรอบ 9 ดวง สมบัติอื่นๆ ของดาวพฤหัสบดีคือ มีจุดแดงใหญ่อยู่ที่ละติจูด 22 องศา มีขนาดโตกว่า 3 เท่าของโลก จุดแดงใหญ่เป็นพายุหมุนที่เกิดในบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี สังเกตุพบครั้งแรกโดย รอเบิร์ด ฮุค เมื่อ พ.ศ. 2207 และแคสสินี ในปีพ.ศ. 2208 จุดแดงใหญ่มีอายุอยู่ได้นานเพราะมีขนาดใหญ่ ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร และไม่มีใครบอกได้ว่าจุดแดงใหญ่จะหายไปเมื่อใด มีแถบและเข็มขัดขนานกันในแนวเส้นศูนย์สูตร เมื่อดูจากภาพถ่ายหรือดูในกล้องโทรทรรศน์ที่มีกำลังขยายสูง จะเห็นแถบกว้างหลายแถบ ระหว่างแถบมีร่องลึกคล้ายแข็มขัดหลายเส้น เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดในบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี

ดาวพฤหัสบดีให้ความร้อนและคลื่นวิทยุออกมามากกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ และมากกว่าที่ได้รับจากดวงอาทิตย์ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าใจกลางของดาวพฤหัสบดี มีอุณหภูมิสูงประมาณ 30,000 องศาเซลเซียส มีบริวารอย่างน้อย 16 ดวง และบริวาร 4 ดวงใหญ่ ที่ชื่อว่า ไอโอ ยูโรปา แกนิมีด และคัลลิสโต ค้นพบโดยกาลิเลโอ เมื่อ พ.ศ. 2153 ทำให้กาลิเลโอมั่นใจ และสนันสนุนทฤษฎีของโคเปอร์นิคัสเกี่ยวกับระบบสุริยะว่า เป็นทฤษฎีที่ถูกต้อง ดาวพฤหัสบดีจึงเป็นระบบย่อยๆ ที่มีบริวารวิ่งวนอยู่โดยรอบ แบบเดียวกันกับที่ดาวเคราะห์ทั้งหลายต่างเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ การเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์เทียบกับดาวฤกษ์รอบละ 11.86 ปี หรือเกือบ 12 ปี ทำให้เห็นดาวพฤหัสบดีเคลื่อนที่ผ่านกลุ่มดาวจักรราศีได้ปีละ 1 กลุ่ม หรือผ่านครบ 12 ราศีในเวลาประมาณ 12 ปี
การสำรวจดาวพฤหัสบดีโดยยานอวกาศ มียานอวกาศหลายลำที่ได้สำรวจดาวพฤหัสบดี ทำให้ได้ภาพถ่าย ดาวพฤหัสบดีในระยะใกล้ และค้นพบบริวารเพิ่มเติมหลายดวง ยานอวกาศลำแรกที่ไปเฉียดดาวพฤหัสบดีคือ ยานอวกาศไพโอเนียร์ 10 ของสหรัฐอเมริกา ออกจากโลกเมื่อ พ.ศ. 2515 และไปเฉียดดาวพฤหัสบดีในปี พ.ศ. 2516 ยานได้ส่งภาพถ่ายดาวพฤหัสบดี กลับมาจำนวนมาก ยานอวกาศวอยเอเจอร์ 1 และ 2 เป็นยานอวกาศของสหรัฐอเมริกาอีก 2 ลำที่ออกเดินทางจากโลกเมื่อพ.ศ. 2522 จากภาพถ่ายในระยะใกล้นี้ ทำให้นักดาราศาสตร์ค้นพบวงแหวนบางๆ 3 ชั้นของดาวพฤหัสบดี ยานอวกาศกาลิเลโอ เป็นยานอวกาศที่ส่งออกจากโลกแล้วอาศัยแรงเหวี่ยงของดาวศุกร์ และของโลกก่อนที่จะไปถึงดาวพฤหัสบดี ซึ่งดึงยานกาลิเลโอไว้เป็นบริวาร ยานจึงวนรอบดาวพฤหัสบดี ในขณะที่ส่งยานลำลูกฝ่าบรรยากาศของดาวพฤหัสบดีด้วย เส้นทางการเคลื่อนที่ของยานกาลิเลโอที่ต้องอาศัยแรงเหวี่ยงของดาวศุกร์ 2 ครั้ง ของโลก 1 ครั้งก่อนที่จะไปวนรอบดาวพฤหัสบดี จึงมีชื่อเส้นทางการเคลื่อนที่ว่า VVEJ (Venus Venus Earth Jupiter)
ขณะนี้ยานกาลิเลโอลำแม่ยังเคลื่อนที่รอบดาวพฤหัสบดี บางรอบผ่านใกล้บริวารขนาดใหญ่ของดาวพฤหัสบดี ซึ่งได้แก่ ไอโอ ยูโรปา แกนิมีด และคัลลิสโต ก่อนที่จะถึงดาวพฤหัสบดี ยานอวกาศกาลิเลโอได้ผ่านใกล้ดาวเคราะห์น้อย 2 ดวง คือ แกสปรา เมื่อ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2534 และไอดา เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2536 ยานอวกาศกาลิเลโอได้เข้าสู่วงโคจรรอบดาวพฤหัสบดีครั้งแรก เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2538 และได้ผ่านเฉียดบริวารไอโอเพียง 900 กิโลเมตร โดยมีกำหนดเข้าใกล้ไอโอมากกว่านี้ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 ไอโอ คือบริวารที่พบว่ามีภูเขาไฟกำลังจะระบิดอยู่หลายแห่ง เมื่อผ่านเข้าใกล้ยูโรปา ซึ่งเล็กกว่าดวงจันทร์ของโลกเราเล็กน้อย พบว่าพื้นผิวของยูโรปาปกคลุมด้วยน้ำแข็งที่หนาทึบ มีหลุมบ่อไม่มาก สันนิษฐานว่า เมื่ออุกกาบาตวิ่งเข้าชนจนเกิดหลุมแล้ว น้ำที่เกิดขึ้นจะแข็งตัวกลบหลุมอีกครั้งหนึ่ง นักวิทยาศาสตร์ตั้งข้อสงสัยว่า กระบวนการที่น้ำแข็ง ละลาย -> แข็งตัว -> ละลาย อาจเกิดขึ้นบนยูโรปาด้วยสาเหตุอื่น เช่นแรงน้ำขึ้น - น้ำลง แกนิมีดเป็นก้อนน้ำแข็งสกปรกขนาดใหญ่ เป็นบริวารดวงใหญ่ที่สุดของดาวพฤหัสบดี และขอบระบบสุริยะ มีขนาดใหญ่กว่าดาวพุธ มีพื้นผิวที่ขรุขระเหี่ยวย่น และมีหลุมอุกกาบาตหลายแห่ง มีลักษณะไม่เหมือนบริวารดวงอื่น แกนิมีดอยู่ใกล้ดาวพฤหัสบดีจึงมีแรงน้ำขึ้น-น้ำลงจากดาวพฤหัสบดีค่อนข้างมาก คัลลิสโตมีขนาดโตพอๆ กับดาวพุธ เป็นบริวารที่มีหลุมอุกกาบาตมากกว่าบริวารดวงอื่น พื้นผิวน้ำแข็งของคัลลิสโตอาจหนาแน่นกว่าของแกนิมีดหลายเท่า น้ำแข็งอาจลงไปลึกหลายร้อยกิโลเมตร อุณหภูมิของคัลลิสโตต่ำมาก เครื่องมือวัดอุณหภูมิในยานวอยเอเจอร์ วัดอุณหภูมิเวลากลางวันของคัลลิสโตได้ -118 องศา เซลเซียส ในขณะเวลากลางคืนอุณหภูมิเป็น -193 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2538 ยานอวกาศกาลิเลโอผ่านใกล้ไอโอ โดยอยู่สูงจากภูเขาไฟของไอโอเพียง 1,000 กิโลเมตร แต่โชคไม่ดีที่เกิดความผิดพลาดทางเทคนิค จึงไม่สามารถบันทึกข้อมูลที่น่าสนใจได้ ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ ปีพ.ศ. 2543 ยานอยู่ห่างไอโอเพียง 200 กิโลเมตรเท่านั้น